Page 135 - journal-14-proceeding
P. 135

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                    PP60G0007  ขอกําหนดคุณภาพทางเคมีฟสิกสของรากชิงชี่




               นิธิดา พลโคตร  ภูริทัต รัตนสิริ  วารุณี จิรวัฒนาพงศ  ศักดิ์วิชัย ออนทอง และประถม ทองศรีรักษ
               สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตรการแพทย กระทรวงสาธารณสุข

               หลักการและเหตุผล ชิงชี่ มีชื่อวิทยาศาสตรวา Capparis  micracantha  DC. จัดอยูในวงศ Capparaceae
               รากชิงชี่มีสรรพคุณ แกไข โรคกระเพาะ ขับลม ขับปสสาวะ รากชิงชี่จัดอยูในตํารับ “ยาหาราก” หรือตํารับยา

               “เบญจโลกวิเชียร” ซึ่งเปนตํารับยาที่ใชรากไมสมุนไพร 5 ชนิด เปนสูตรผสมหลัก โดยเปนตํารายาแผนโบราณ
               ในบัญชียาหลักแหงชาติ ใชบรรเทาอาการไข เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้ยังไมมีขอกําหนดมาตรฐานมากอน จึงมี
               ความจําเปนตองศึกษาคุณสมบัติทางเคมีฟสิกสของวัตถุดิบรากชิงชี่ เพื่อจัดทําขอกําหนดคุณภาพทางเคมีของ
               รากชิงชี่


               วัตถุประสงค เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีของวัตถุดิบรากชิงชี่  และนํามาใชเปนแนวทางในการจัดทํา
               ขอกําหนดมาตรฐานของวัตถุดิบรากชิงชี่


               วิธีดําเนินการ งานวิจัยนี้ใชตัวอยางอางอิงตรวจระบุชื่อตามหลักพฤกษอนุกรมวิธาน จํานวน 2 ตัวอยาง และ
               ตัวอยางจากรานขายยาสมุนไพร จํานวน 20 ตัวอยาง  โดยศึกษาคุณภาพทางเคมีหัวขอปริมาณความชื้นดวย
               วิธีกราวิเมตริก ปริมาณเถารวม ปริมาณเถาที่ไมละลายในกรด ปริมาณสารสกัดดวยน้ํา และปริมาณสารสกัด
               ดวยเอทานอล ตามวิธีในตํารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ศึกษาเอกลักษณทางเคมีดวยวิธีการทดสอบปฏิกิริยา

               เคมี และศึกษาโครมาโทแกรมดวยวิธีทีแอลซี

               ผลการศึกษา  ผลการศึกษาคุณภาพทางเคมี ดังนี้ ปริมาณความชื้นดวยวิธีกราวิเมตริกรอยละ 7.43  ±  1.12

               โดยน้ําหนัก ปริมาณเถารวมรอยละ 3.66 ±  0.96 โดยน้ําหนัก ปริมาณเถาที่ไมละลายในกรดรอยละ 0.86 ±
               0.55 โดยน้ําหนัก ปริมาณสารสกัดดวยน้ํารอยละ 8.72 ±  2.86 โดยน้ําหนัก ปริมาณสารสกัดดวยเอทานอล
               รอยละ 2.38 ±  0.53  โดยน้ําหนัก และผลจากการศึกษาเอกลักษณทางเคมีพบวาสารสกัดชิงชี่ใหผลบวกเมื่อ
               ทดสอบกับสารละลายนินไฮดริน


               ขอสรุป ขอมูลที่ไดจากการศึกษาเอกลักษณทางเคมีของรากชิงชี่ สามารถนํามาใชในการตรวจเอกลักษณทาง
               เคมีของรากชิงชี่ได และผลจากการศึกษาคุณภาพทางเคมีสามารถนํามาจัดทําเปนขอกําหนดคุณภาพทางเคมี
               ของรากชิงชี่ ไดดังนี้ ปริมาณความชื้นดวยวิธีกราวิเมตริกไมเกินรอยละ 9.0 โดยน้ําหนัก ปริมาณเถารวมไมเกิน

               รอยละ 5.0 โดยน้ําหนัก ปริมาณเถาที่ไมละลายในกรดไมเกินรอยละ 1.0 โดยน้ําหนัก ปริมาณสารสกัดดวยน้ํา
               ไมนอยกวารอยละ 6.0 โดยน้ําหนัก ปริมาณสารสกัดดวยเอทานอลไมนอยกวารอยละ 2.0 โดยน้ําหนัก











                                                         133
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140