Page 132 - journal-14-proceeding
P. 132

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                      PPem8C ผลการเปรียบเทียบนวัตกรรมแผนประคบสมุนไพรกับแผนประคบ
                                      รอนในผูปวยปวดหลังสวนลาง โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่


               พัชรี หมีนหวัง
               โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

               หลักการและเหตุผล  ในปจจุบันอาการปวดหลังจากการทํางานเปนปญหาที่พบไดบอย (สมชัย ตั้งกิติพงษ,
               2549) โดยเฉพาะปญหาปวดหลังสวนบั้นเอว (Low–back pain) สาเหตุสวนใหญมักเกิดจากการมีทาทางที่ไม
               ถูกตองขณะกําลังยืน นั่ง นอน หรือกําลังทํางาน ทําใหกลามเนื้อและโครงรางเสียความสมดุล (ศรีเทียน ตรีศิริ
               รัตน,  2544)โรคปวดหลังสวนลางเรื้อรังเปนปญหาที่สําคัญโรคหนึ่งทางดานสาธารณสุขนักวิชาการทางดาน

               ตะวันตกพบวาประมาณรอยละ 80 ของผูใหญกําลังประสบปญหาจากโรคนี้ จากรายงานสถิติโรงพยาบาล
               เหนือคลอง พบวาจํานวนผูมารับบริการที่คลินิกแพทยแผนไทยมาดวยอาการอาการปวดหลังสวนลางถึงรอยละ
               70 (โรงพยาบาลเหนือคลอง,  2559) ภายใตการใหบริการของผูประกอบวิชาชีพเวชกรรมไทย 1 คน ทําให
               ตระหนักถึงการหาแนวทางพัฒนาการใหบริการภายใตบุคลากรที่มีจํากัดและการรักษาที่รวดเร็วขึ้น


               วัตถุประสงค เพื่อเปรียบเทียบผลแบบวัดความรูสึกปวดของนวัตกรรมแผนประคบสมุนไพรกับแผนประคบ
               รอนในผูปวยปวดหลังสวนลางโรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และเพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนของแบบ
               ประเมินอาการปวดหลัง (Modified Oswestry Low Back Pain Disability Questionnaire) ของนวัตกรรม
               แผนประคบสมุนไพรกับแผนประคบรอนในผูปวยปวดหลังสวนลางโรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่

               วิธีดําเนินการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เปนการศึกษากึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบนวัตกรรมแผน

               ประคบสมุนไพรกับแผนประคบรอนในผูปวยปวดหลังสวนลาง โรงพยาบาลเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ โดย
               แบงกลุมตัวอยางที่ศึกษาออกเปน 2 กลุม คือ กลุมทดลอง และกลุมควบคุม กลุมตัวอยางที่ใชในการศึกษา
               เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากผูมารับบริการในคลินิกแพทยแผนไทยโรงพยาบาลเหนือคลอง
               จังหวัดกระบี่ จํานวน 60 ราย รวบรวมขอมูลตามตัวแปรกอนและหลังการทดลองทั้งสองกลุม มีการวัดผลกอน

               และหลังการทดลอง (Two group pretest–posttest design)โดยใช แบบวัดความรูสึกปวด (Visual
               Analogue  Scale)  และแบบประเมินอาการปวดหลัง (Modified Oswestry  Low Back Pain Disability
               Questionnaire)  ที่พัฒนาเปนฉบับภาษาไทย ระยะเวลา ตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ 2559 ถึง 31 ธันวาคม
               พ.ศ 2559 ใหกลุมตัวอยางทั้ง 2 ไดรับประคบเปนเวลาครั้งละ 20 นาที 3 ครั้งตอ 1 สัปดาหโดยจะนัดวันเวน

               วันตอเนื่องกัน 2 สัปดาห รวมเปน 6 ครั้ง  การวิเคราะหขอมูล โดยผลการเปรียบเทียบความแตกตางของ
               คะแนนแบบประเมินอาการปวดหลังและระดับความรูสึกปวด หลังการรักษาระหวางกลุมใชนวัตกรรมแผน
               ประคบสมุนไพรกับกลุมใชแผนประคบรอนคาเฉลี่ยของคะแนนแบบประเมินอาการปวดหลัง หลังการรักษา
               ระหวางกลุมใชนวัตกรรมแผนประคบสมุนไพรกับกลุมใชแผนประคบรอน วิเคราะหดวยการทดสอบคา t-test

               Independent  ดวยคาความเชื่อมั่นทางสถิติ 95 (P-value=0.05) ผลของการเปรียบเทียบคาเฉลี่ยแบบวัด
               ความรูสึกปวด (VAS) หลังการรักษาระหวางกลุมใชนวัตกรรมแผนประคบสมุนไพรกับกลุมใชแผนประคบรอนมี
               ความแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

               ผลการศึกษา  ผลการเปรียบเทียบนวัตกรรมแผนประคบสมุนไพรกับแผนประคบรอนในผูปวยปวดหลัง
               สวนลางพบวาการใชนวัตกรรมแผนประคบสมุนไพรสามารถทําใหอาการปวดหลังสวนลางมีอาการปวดลดลง

               และคะแนนแบบประเมินอาการปวดหลังลดลงดวยสามารถนํามาใชบริการกับผูปวยที่มีอาการปวดหลังในงาน
               แพทยแผนไทยของโรงพยาบาลและชุมชน

                                                         130
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137