Page 115 - journal-14-proceeding
P. 115
บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14
PP60C0019 หนุนสบาย คลายปวด
ชุติมา แกวเติมทอง, จิรัสยา หมาดทิ้ง
โรงพยาบาลหวยยอด อ.หวยยอด จ. ตรัง
หลักการและเหตุผล อาการปวดคอพบไดในคนวัยทํางานหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะผูที่นั่งทํางานในสํานักงาน หรือชาว
ออฟฟศ ซึ่งสวนใหญอยูหนาจอคอมพิวเตอร การนั่งอยูในทาเดิมนานๆ การเสพติดสมารทโฟน ติดโซเชียลมีเดีย ปจจัยที่ทําให
เกิดโรคคือ มีภาวะเครียดตลอดเวลา การนอนไมเพียงพอหลับไมสบาย ภูมิแพ ทํางานในทาที่ซ้ําๆเดิมๆเปนเวลานานติดตอกัน
นอกจากวิธีรักษาดวยการรับประทานยา กายภาพ การนวดแลว แพทยแผนไทยยังมีแนวคิดในการบรรเทาอาการปวดในขณะ
นอนหลับ ดวยการประดิษฐนวัตกรรม นอนสบาย คลายปวด โดยการทําไสหมอนจากเปลือกถั่วงอก และสมุนไพรอื่นๆ ซึ่งเปน
การนําภูมิปญญาไทยในอดีตกลับมาใชใหม จากการศึกษายังพบวาลักษณะพิเศษของเปลือกถั่วงอก จะมีลักษณะกลวง ทําให
เกิดโพรงอากาศมากมาย เมื่อนํามาบุหมอนจึงทําใหการถายเทอากาศดี ชวยปรับอุณหภูมิที่ศีรษะใหเย็นสบายตลอดคืน (หัว
เย็น เทาอุน) ตรงกับงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุวารักษาอุณหภูมิของศีรษะใหเย็นและรักษาอุณหภูมิเทาใหอุนตอการนอน ถูก
สุขลักษณะการนอนจึงหลับสบาย และเนื่องจากเปลือกถั่วงอกมีรูปรางคลายถุงทราย ทําใหสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงใหเขา
กับสรีระตนคอ และอิริยาบถ การนอนของแตละคนไดอยางเหมาะสม ไมวาจะนอนหงายหรือนอนตะแคงทําใหศีรษะ ตนคอ
และกระดูกสันหลังอยูในตําแหนงที่ถูกตอง ชวยใหปญหาเรื่องปวดตนคอหลังตื่นนอนหรือปวดหลัง ปวดไหลตาง ๆ ลดลง และ
การใสสมุนไพรชนิดอื่นๆที่มีน้ํามันหอมระเหย มีกลิ่นหอม ยังเปนการรักษาแบบสุคนธบําบัด คลายความเครียดไดอีกดวย
วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลการใชหมอนเปลือกถั่วงอกและสวนผสมของสมุนไพรตอการบําบัดกลุมอาการปวดตนคอ ปวดบา
ปวดหลัง ของผูที่มีอาการปวดในวัยทํางาน
วิธีการดําเนินการ งานวิจัยนี้เปนการวิจัยเชิงพรรณนา นํานวัตกรรมมาใชในการผอนคลายอาการปวดกลามเนื้อ โดยสูตรการ
เตรียมสมุนไพร ไดแก เปลือกถั่วงอก 8 สวน ไพล 2 สวน ขมิ้น 1 สวน ตะไคร 1 สวน ผิวมะกรูด 1 สวน พิมเสน การบูร โดย
สมุนไพรที่ใชเปนสมุนไพรแหง ผานกระบวนการตาก อบแหงที่ถูกตองตามมาตรฐานเพื่อปองกันการเกิดเชื้อรา ประชุมทีม
แพทยแผนไทยและทีมสหวิชาชีพเพื่อทําความเขาใจหลักเกณฑในการคัดเลือกกลุมตัวอยาง ประกอบดวยกลุมผูที่มีอาการปวด
ตนคอ ปวดบา ปวดหลัง อยูในเขต อําเภอหวยยอด จังหวัดตรัง จํานวน 40 คน โดยใหกลุมตัวอยางตอบแบบสอบถาม
(แบบสอบถามที่ใชเปนแบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบสอบถามความเจ็บปวด visual rating scales: VRS) และทดลองใช
นวัตกรรม เปนเวลา 1 เดือน โดยการติดตามผล 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 ใชนวัตกรรมระยะเวลา 5 วัน ครั้งที่ 2 ระยะเวลาครบ 10 วัน
และครั้งที่ 3 ระยะเวลาครบ 1 เดือน รวบรวมขอมูลและประเมินผล
ผลการศึกษา พบวากลุมตัวอยางมีความพึงพอใจนวัตกรรม นอนสบาย คลายปวด ในระดับมากที่สุด คือความสบายในการหนุน
นอน และชวยลดอาการปวดกลามเนื้อตนคอ บา หลัง ( Χ = 3.94) รองลงมาคือ ชวยลดปญหาของคนที่เปนโรคภูมิแพจากไรฝุน
( Χ = 3.84) และจากการติดตามผลความเจ็บปวดในระยะเวลา 1 เดือน พบวา กลุมตัวอยาง มีระดับความเจ็บปวดลดลง 3
ระดับขึ้นไป คิดเปนรอยละ 80 ระดับความเจ็บปวดลดลง 1-2 ระดับ คิดเปน รอยละ 20 และไมพบกลุมตัวอยางที่ไมมีอาการดีขึ้น
ขอสรุป นวัตกรรม นอนสบาย คลายปวด ชวยใหการนอนหลับสบายมากยิ่งขึ้น ชวยในผูปวยภูมิแพจากไรฝุน และยังสามารถ
ลดอาการปวดตนคอ บา หลัง ซึ่งเปนการบําบัดโรค และสงเสริมใหมีสุขภาพที่ดีขึ้น เปนการเตรียมความพรอมดานสุขภาพวัย
แรงงานเพื่อกาวเขาสูวัยสูงอายุอยางมีคุณภาพ และนวัตกรรมยังสามารถพัฒนารูปแบบเพื่อใชลดอาการปวดเขา หรือตําแนง
อื่นๆในผูสูงอายุ ลดการเกิดแผลกดทับในผูปวยติดเตียงไดอีกดวย
113