Page 190 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 190

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 21  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2566   Vol. 21  No. 3  September-December  2023




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การชักนำาแคลลัสและการผลิตสาร Rosmarinic acid ของปอบิด



            สรเพชร มาสุด*, ทิพวรรณ ปรักมานนท์, เสกรชตกร บัวเบา, กชพร โชติมโนธรรม,
            ปภาวดี สุฉันทบุตร, กรวิชญ์ สมคิด, ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์

            สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลตลาดขวัญ อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
             ผู้รับผิดชอบบทความ:  Sorrapetch.m@dmsc.mail.go.th
            *








                                                 บทคัดย่อ
                    บทน�ำและวัตถุประสงค์:  ปอบิด (Helicteres isora L.) เป็นพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย มี
               สารต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ และฤทธิ์ลดไขมันในเลือด การเพาะปลูกปอบิดมีปริมาณสารออก
               ฤทธิ์ไม่สม�่าเสมอเนื่องจากปัจจัยหลายประการ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาหารเลี้ยงแคลลัสของ
               ปอบิดที่เหมาะสมในการเหนี่ยวน�าให้เกิดสาร Rosmarinic acid (RA) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
                    วิธีกำรศึกษำ:  น�าตาข้างที่ปราศจากเชื้อของปอบิดมาเพาะเลี้ยงบนอาหาร Marashige และ Skoog (MS) ที่เติม
               สารควบคุมการเจริญเติบโตไธไดอะซูรอน (TDZ) และกรดแนฟทาลีนอะซิติก (NAA) เป็นระยะเวลา 45 วัน จนเกิด
               แคลลัส หลังจากนั้นหาค่า RA ในแคลลัส เปรียบเทียบกับผลปอบิดที่เก็บจากแหล่งธรรมชาติและแหล่งปลูก ด้วยวิธี
               โครมาโทกราฟฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC)
                    ผลกำรศึกษำ:  จากผลการศึกษาพบว่า ตาข้างของปอบิดสามารถสร้างแคลลัสได้ดีในอาหารสูตร MS ที่เติม
               TDZ 0.4 มิลลิกรัมต่อลิตร และ NAA 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 45 วัน โดยสามารถชักน�าให้เกิดแคลลัสของปอ
               บิดมีเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2.9 ± 0.58 เซนติเมตร ความเข้มข้นของสาร RA ที่วัดได้จากแคลลัสของปอบิดอยู่ที่
               ร้อยละ 0.3939 ของน�้าหนักแห้ง และสูงกว่าจากแหล่งธรรมชาติประมาณ 4.5 เท่า
                    อภิปรำยผล:  การเพาะเลี้ยงแคลลัสสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการสร้างสารส�าคัญใน
               พืชสมุนไพรที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดจากการสกัดสารจากพืชโดยตรง เช่น ร่นระยะเวลา
               ต้นทุนต่าง ๆ รวมถึงการปนเปื้อนสารเคมี โลหะหนัก และเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ดังนั้นสารที่ได้จากกระบวนการนี้จึงมี
               คุณภาพ และเหมาะสมต่อยอดไปใช้ทางการแพทย์ และทางอุตสาหกรรมสารสกัดพืชสมุนไพรต่อไป
                    ข้อสรุป และข้อเสนอแนะ:  สูตรอาหารนี้มีความเหมาะสมส�าหรับการเพาะเลี้ยงแคลลัสในการผลิตสาร RA
               อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้จัดท�าขึ้นเฉพาะเทคนิคการเพาะเลี้ยงแคลลัสพื้นฐานเท่านั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
               สาร RA สามารถท�าได้โดยการเติมสารกระตุ้นอื่น ๆ

                    ค�ำส�ำคัญ:  ปอบิด, แคลลัส, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช




            Received date 01/12/22; Revised date 21/08/23; Accepted date 20/11/23


                                                    673
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195