Page 151 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 151

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 21  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2566      Vol. 21  No. 2  May-August  2023




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาลักษณะทางมหภาค และลักษณะทางจุลภาคของสันพร้าหอม



            โสภิดาวรรณ วิเชียรกุล*, ไพริน ทองคุ้ม

            สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตำาบลตลาดขวัญ อำาเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
            * ผู้รับผิดชอบบทความ:  sopidawan@gmail.com








                                                 บทคัดย่อ
                    บทน�ำและวัตถุประสงค์:  สันพร้าหอม มีสรรพคุณตามต�ารายาโบราณใช้ใบ เป็นยาแก้ไข้พิษ แก้ไข้หวัด ถอนพิษ
               ไข้ และยาหอมชูก�าลัง และเป็นสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ กลุ่มยาแก้ไข้ ต�ารับยาเขียวหอม การศึกษาครั้งนี้
               มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางมหภาค และลักษณะทางจุลภาคของใบและล�าต้นสันพร้าหอม (Eupatorium
               fortunei Turcz. วงศ์ Compositae)
                    วิธีกำรศึกษำ:  น�าตัวอย่างใบมาศึกษาลักษณะทางมหภาค โดยรูปร่างลักษณะ สี กลิ่น และรส ศึกษาลักษณะ
               ทางจุลภาค โดยดูลักษณะโครงสร้างเนื้อเยื่อภายใต้กล้องจุลทรรศน์
                    ผลกำรศึกษำ:  ผลการศึกษาลักษณะทางมหภาคพบ ส่วนของใบและล�าต้นแห้ง สีน�้าตาลปนเขียว เนื้อใบบาง
               แตกหักง่าย มีกลิ่นอ่อน รสขมเล็กน้อย ลักษณะทางจุลภาคพบ เนื้อเยื่อภาคพื้นผิวใบด้านบน เนื้อเยื่อภาคพื้นผิวใบด้าน
               ล่าง ภาคตัดตามขวางแผ่นใบ ภาคตัดตามขวางเส้นกลางใบ ภาคตัดตามขวางก้านใบ ภาคตัดตามขวางล�าต้น ชิ้นส่วน
               เนื้อเยื่อผงยาใบและก้านใบ และชิ้นส่วนเนื้อเยื่อผงยาล�าต้น น�าเสนอเป็นภาพถ่ายสีและภาพวาดภายใต้กล้องจุลทรรศน์
               โดยใช้ชุดถ่ายภาพและชุดวาดภาพที่ต่อกับกล้องจุลทรรศน์
                    อภิปรำยผล:  เนื่องจากสันพร้าหอมใช้ส่วนใบเป็นเครื่องยา การเก็บอาจมีส่วนอื่นปนมา จึงต้องท�าการศึกษา
               ส่วนอื่นด้วย เช่น ก้านใบ และล�าต้น เพื่อให้มีข้อมูลลักษณะทางจุลภาคเพิ่มขึ้น โดยมีการบันทึกผลด้วยการวาดภาพ
               และถ่ายภาพภายใต้กล้องจุลทรรศน์ที่มีความทันสมัยมากขึ้น สามารถวาดและถ่ายภาพตามความเป็นจริงของเนื้อเยื่อ
               นั้น ๆ ได้
                    ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ:  การศึกษานี้จะท�าให้ได้ข้อมูลลักษณะทางมหภาค และลักษณะจุลภาคของใบและ
               ล�าต้นสันพร้าหอม สามารถน�าข้อมูลไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดท�าข้อก�าหนดมาตรฐานทางเภสัชเวท การพิสูจน์
               เอกลักษณ์ และการควบคุมคุณภาพเพื่อสนับสนุนการจัดท�าต�ารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย (Thai Herbal Pharmaco-
               poeia) และงานบริการตรวจวิเคราะห์ได้

                    ค�ำส�ำคัญ:  ลักษณะทางมหภาค ลักษณะทางจุลภาค สันพร้าหอม เครื่องยาสมุนไพรอ้างอิง







            Received date 23/11/22; Revised date 25/07/23; Accepted date 07/08/23


                                                    367
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156