Page 91 - J Trad Med 21-1-2566
P. 91
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566 Vol. 21 No. 1 January-April 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
ผลการฝังเข็มต่อเส้นรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายในกลุ่มนิสิต
มหาวิทยาลัยพะเยาที่มีภาวะน้ำาหนักเกิน
พงศ์นเรศ แจ้งพรมมา , วรางคณา กล้าจริง , ทวีวรรณ ศรีสุขคำา †
*
*,‡
หลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
*
หลักสูตรปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
†
ผู้รับผิดชอบบทความ: wangyisheng_23@hotmail.com
‡
บทคัดย่อ
ปัญหาภาวะอ้วนและอ้วนลงพุง ถือว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส�าคัญที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ต่างๆ ซึ่งศาสตร์การฝังเข็มสามารถช่วยในการลดน�้าหนัก ค่าดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวได้ดี โดยการวิจัยกึ่งทดลอง
(quasi-experimental) ในกลุ่มทดลอง 45 คน แบบกลุ่มเดียวกันวัดผลห้าครั้ง เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาก่อนกับหลัง
ของน�้าหนัก ค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก ร้อยละสัดส่วนไขมันในร่างกาย และร้อยละมวลกล้ามเนื้อ
โดยท�าการฝังเข็มทั้งหมด 5 จุด ได้แก่จุดเทียนซู จู๋ซานหลี่ เฟิงหลง จงหว่าน และกวนหยวน โดยการฝังเข็ม 1 ครั้ง ใช้
เวลา 30 นาที ท�าการฝังเข็มทั้งหมด 10 ครั้ง และท�าการรักษาวันเว้นวัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล
ส่วนบุคคลได้แก่ ชื่อ สกุล เพศ อายุ น�้าหนัก ส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก ร้อยละ
สัดส่วนไขมันในร่างกาย และร้อยละมวลกล้ามเนื้อและใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ repeated Measures ANOVA ในการวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาพบว่าหลังการ
รักษาน�้าหนักเฉลี่ย ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย ค่าเส้นรอบเอวเฉลี่ย เส้นรอบสะโพกเฉลี่ย ร้อยละสัดส่วนไขมันในร่างกาย
เฉลี่ยและร้อยละมวลกล้ามเนื้อเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยส�าคัญ (p < 0.01) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของการฝังเข็มใน
การลดน�้าหนักได้เป็นอย่างดี
ค�ำส�ำคัญ: ฝังเข็ม, ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย, ค่าเส้นรอบเอวเฉลี่ย, ลดน�้าหนัก, แพทย์แผนจีน
Received date 07/09/22; Revised date 25/01/22; Accepted date 23/02/23
71