Page 78 - J Trad Med 21-1-2566
P. 78
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
Vol. 21 No. 1 January-April 2023
ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
58 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษาเปรียบเทียบผลของรองเท้านวดกดจุดสมุนไพรบรรเทาอาการชาเท้า
ในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัชรินทร์ กลั่นคูวัฒน์ , ธวัชชัย กมลธรรม
*
สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ถนนอู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต
กรุงเทพมหานคร 10300
ผู้รับผิดชอบบทความ: namfon20052537@gmail.com
*
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรองเท้านวดกดจุดสมุนไพรบรรเทาอาการชาเท้าในผู้ป่วย
เบาหวาน และเพื่อเปรียบเทียบอาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มที่ใส่รองเท้านวดกดจุดสมุนไพรกับ
กลุ่มควบคุมที่ใส่รองเท้าธรรมดา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอาการชาเท้า อย่างน้อย 1 จุด ที่
ผ่านเกณฑ์การคัดเข้า จำานวน 68 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple
random sampling) โดยการจับฉลาก กลุ่มละ 34 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์
ด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (independent t-test) ระหว่างกลุ่มทดลองกับ กลุ่ม
ควบคุม และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) ระหว่างก่อนการ
ทดลองกับหลังการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าการใส่รองเท้านวดกดจุดสมุนไพรบรรเทาอาการชาเท้าในผู้ป่วย
เบาหวานก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยการทดสอบประสาทรับความรู้สึกเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน เท่ากับ
5.38 และ 1.71แสดงถึงค่าของระดับอาการชาเท้าลดลง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม มีค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง จาก 5.18 เป็น 5.24 ดังนั้นการใส่รองเท้านวดกด
จุดสมุนไพรลดอาการชาเท้าได้ดีกว่ากลุ่มที่ใส่รองเท้าปกติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำ�สำ�คัญ: รองเท้านวดกดจุดสมุนไพร, ผู้ป่วยเบาหวาน, อาการชาเท้า
Received date 10/10/22; Revised date 04/04/23; Accepted date 07/04/23
58