Page 108 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 108
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
522 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Vol. 20 No. 3 September-December 2022
ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและความคงตัวทางกายภาพและเคมีของยาต้ม
แก้ไข้ตัวร้อนตำารับหมอเมืองล้านนา
ศกุนตลา คงดี*, รัชฎาวรรณ อรรคนิมาตย์ , จิรัญญา พรหมเชียง ,อารียา ช้างทอง , ปราณี ศรีราช *
†
*,‡
*
* สาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ตำาบลแร่ อำาเภอพังโคน
จังหวัดสกลนคร 47160
† หลักสูตรการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
วิทยาเขตสกลนคร ตำาบลแร่ อำาเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160
‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: Ratchadawan.au@rmuti.ac.th
บทคัดย่อ
จากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ท�าให้ต�ารับยาแก้ไข้และสมุนไพรที่มีฤทธิ์
ลดไข้ถูกน�ามาศึกษามากมาย ยาต้มแก้ไข้ตัวร้อนต�ารับยาหมอเมืองล้านนา ซึ่งมีประวัติการใช้เป็นยาลดไข้ในภาค
เหนือ ประกอบด้วย บอระเพ็ด ทองพันชั่ง ผักหวานบ้าน และต้นตีนเป็ด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความ
คงตัวทางกายภาพ ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) การเกิดตะกอน และสีของยาต้มแก้ไข้ตัวร้อนต�ารับหมอเมืองล้านนา
ที่อุณหภูมิ 4, 25 และ 40˚ซ. ความชื้นสัมพัทธ์ 75 ± 5%RH เป็นระยะเวลา 7 วัน ศึกษาปริมาณฟีนอลิกรวมโดยใช้วิธี
Folin Ciocalteu method และปริมาณฟลาโวนอยด์รวมโดย aluminum chloride colorimetric ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูล
อิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging และ วิธี ABTS ผลการศึกษาค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของอุณหภูมิต่าง ๆ
มีค่าลดลงตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้นแปรผันตรงกับระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สีของยาต้ม
ที่อุณหภูมิ 4˚ซ. พบว่าไม่มีความเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาปริมาณฟีนอลิกรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของยาต้ม
แก้ไข้ตัวร้อนต�ารับหมอเมืองล้านนา พบว่ามีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาที่เพิ่ม
ขึ้น โดยผลปริมาณฟีนอลิกรวม ที่ 4˚ซ. วันที่ 0 = 161.13 ± 5.62 และ วันที่ 7 = 15.34 ± 6.21, 25˚ซ. วันที่ 0 = 160.53
± 11.78 และ วันที่ 7 = 14.32 ± 1.13, 40˚ซ. วันที่ 0 = 160.09 ± 7.39 และ วันที่ 7 = 12.82 ± 6.91 mg GAE/g extract
และผลปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ที่อุณหภูมิ 4˚ซ. วันที่ 0 = 20.32 ± 0.43 และ วันที่ 7 = 7.80 ± 0.34, อุณหภูมิ 25˚ซ.
วันที่ 0 = 20.10 ± 0.47 และ วันที่ 7 = 7.27 ± 0.20, อุณหภูมิ 40˚ซ. วันที่ 0 = 20.06 ± 0.55 และ วันที่ 7 = 6.63 ± 0.43
mg QE/g extract ผลของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของยาต้มแก้ไข้ตัวร้อนต�ารับหมอเมืองล้านนา ที่อุณหภูมิ 4, 25 และ
40˚ซ. วิธี DPPH พบว่าประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระใกล้เคียงกัน ค่า IC 50 มีค่าระหว่าง 14.74 ± 0.04% - 23.18
± 0.72%w/w ของน�้าหนักยาต้ม เช่นเดียวกับผลการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS ของยาต้มแก้ไข้ตัวร้อน
พบว่าค่า IC 50 มีค่าระหว่าง 2.63 ± 0.12% - 3.95 ± 0.05%w/w และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4˚ซ. มีความคงตัวทาง
กายภาพดีที่สุด ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถน�าไปใช้แนวทางในการเก็บรักษายาต้มทางการแพทย์แผนไทย และ
การแพทย์พื้นบ้านให้มีความคงตัวที่ดีได้
ค�ำส�ำคัญ: ไข้ตัวร้อน, ยาต้ม, หมอเมืองล้านนา, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ความคงตัว
Received date 17/02/22; Revised date 07/06/22; Accepted date 29/11/22
522