Page 84 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2565
P. 84

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                                                                     Vol. 20  No. 2  May-August  2022
                     ปีที่ 20  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2565
            282 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      ปีที่ 20  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2565


                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           การประเมินผลศักยภาพการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบ

           ฟีนอลิกรวม เฟลโวนอยด์ แทนนิน จากสารสกัดหยาบของเห็ดระโงกบางชนิด



           กฤษฎา จำาปาทาสี, นุจรี ชำานาญทัพ, อารีรัตน์ ใสส่อง, ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล*
           ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 44150
           *ผู้รับผิดชอบบทความ:  khwanruan.p@msu.ac.th











                                                บทคัดย่อ

                   การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของเห็ดระโงกที่รับประทานได้ 2 ชนิด คือ เห็ดระโงกขาว
              (Amanita princeps Corner & Bas.) และเห็ดระโงกเหลือง (Amanita javanica (Corner & Bas.) T. Oda, Tanaka &
              Tsuda) ซึ่งเป็นเห็ดที่รู้จักทั่วไปมีราคาแพง โดยการตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS และ FRAP assay
              และหาปริมาณสารประกอบกลุ่มพอลีฟีนอล ได้แก่ ฟีนอลิกรวม เฟลโวนอยด์ และแทนนิน จากสารสกัดหยาบด้วย
              ตัวท�าละลายเอทานอล เมทานอล และน�้าร้อน ผลการทดลองพบว่าสารสกัดหยาบของเห็ดระโงกเหลืองที่สกัดด้วยน�้า
              ร้อนมีผลผลิตมากที่สุดเท่ากับร้อยละ 28.97ส่วนสารประกอบฟีนอลิกและเฟลโวนอยด์พบว่าสารสกัดหยาบของเห็ด
              ระโงกขาวที่สกัดด้วยเอทานอลมีปริมาณสูงที่สุดเท่ากับ 18.41 ± 0.13 mg GAE/g extract เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน
              กรดแกลลิก และ 1017.99 ± 8.18 mg QE/g extract เมื่อเทียบกับสารมาตรฐานเควอร์เซติน และปริมาณแทนนินมาก
              ที่สุดพบในสารสกัดเห็ดระโงกขาวที่สกัดด้วยน�้าร้อนเท่ากับ 13.53 ± 0.45 mg tannic acid/g extract เมื่อเทียบกับสาร
              มาตรฐานกรดแทนนิก ส่วนการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากทั้ง 2 วิธี พบว่าสารสกัดหยาบที่สกัดด้วยน�้าร้อน
              ของเห็ดระโงกเหลืองมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดด้วยวิธี ABTS assay มีค่าความเข้มข้นของสารที่สามารถยับยั้ง
              ปฏิกิริยาไปครึ่งหนึ่ง (IC 50) เท่ากับ 0.75 ± 0.04 mg/mL ส่วนวิธี FRAP assay พบว่าสารสกัดหยาบของเห็ดระโงกขาว
              ที่สกัดด้วยเอทานอลมีค่าต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเท่ากับ 3650.67 ± 35.77 mg FeSO 4/g extract

                   ค�ำส�ำคัญ:  การต้านอนุมูลอิสระ, ฟีนอลิกรวม, เฟลโวนอยด์, แทนนิน, เห็ดระโงก













           Received date 08/11/21; Revised date 01/02/22; Accepted date 02/08/22


                                                   282
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89