Page 201 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 20 ฉบับที่ 1
P. 201
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2565 Vol. 20 No. 1 January-April 2022
รายงานเบื้องต้น
ประสิทธิผลของยาประสะน้ำานมต่อการเพิ่มปริมาณน้ำานมในมารดาหลังคลอด
ชวนัฐ เพ็งสลุด *,§§, ซารีนา สังข์จันทร์ , พวงเพชร พุ่มเฉี่ยว , พุฒิรักษ์ รักษ์ย่อง , วันดี ศรีวิจารย์ ,
†
†
†
†
วันดี ญาณไพศาล , บรรลือ สังข์ทอง , สุรพล นธการกิจกุล , จินดาพร ภูริพัฒนาวงษ์ ,
#
§
‡
¶
กุลธนิต วนรัตน์ , มณฑกา ธีรชัยสกุล , กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ , คณิตา เพ็งสลุด ‡‡
**
**
††
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทยกมลาศรม สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ตำาบลในเมือง อำาเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000
*
กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลพรหมพิราม ตำาบลพรหมพิราม อำาเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก 65150
†
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตำาบลพระปฐมเจดีย์ อำาเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม 73000
‡
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำาบลขามเรียง อำาเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150
§
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำาบลสุเทพ อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200
¶
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำาบลคอหงส์ อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
#
สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100
**
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
††
ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ตำาบลวังทอง อำาเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65130
‡‡
ผู้รับผิดชอบบทความ: chawanut4@gmail.com
§§
บทคัดย่อ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นรากฐานเริ่มต้นของการส่งเสริมสุขภาพของเด็ก เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลายโรคที่
พบในทารก โดยยาประสะน�้านม ตามคัมภีร์ปฐมจินดา มีสรรพคุณเป็นยาเพิ่มปริมาณน�้านม ในต�ารับมีส่วนประกอบ
คือ โกฐ 5 เทียน 5 กรุงเขมา ขิงแห้ง รากกระพังโหม และชะมดต้น ซึ่งในปัจจุบันยังขาดข้อมูลวิจัยสนับสนุน การศึกษา
นี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยาประสะน�้านมต่อการเพิ่มปริมาณน�้านมใน
มารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่คลอดแบบปกติและให้นมบุตรที่โรงพยาบาลพรหมพิราม จ�านวน 24 คน
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับยาประสะน�้านม รับประทานครั้งละ 100 มิลลิตร วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า
กลางวันและเย็น และกลุ่มที่ 2 ได้รับการดูแลมาตรฐาน วัดปริมาณน�้านมที่ได้ด้วยเครื่องปั๊มนมอัตโนมัติโดยใช้เวลา
ปั๊ม 15 นาที/เต้า โดยน�าผลที่ได้จากวันที่ 2 3 7 และ 14 วันหลังคลอด มาเปรียบเทียบปริมาณน�้านมที่เพิ่มขึ้นภายใน
กลุ่มด้วยสถิติ paired t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ unpaired t-test พบว่ามารดาหลังคลอดมีอายุเฉลี่ย
29 ปี ทั้งสองกลุ่มหลังจากได้รับการรักษามีปริมาณน�้านมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ในกลุ่มที่ได้รับยาประสะน�้านม พบว่า
มีปริมาณน�้านมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติตั้งแต่วันที่ 3 หลังคลอด และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ปริมาณ
น�้านม 14 วันหลังคลอด ในกลุ่มที่ได้รับยาประสะน�้านมมีปริมาณมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p <
0.001) ในกลุ่มยาประสะน�้านมมีมารดาหลังคลอด 1 คน มีอาการคลื่นไส้หลังจากรับประทานยาประสะน�้านม โดย
สรุปยาประสะน�้านมสามารถเพิ่มปริมาณน�้านมในมารดาหลังคลอดได้ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการออก
ฤทธิ์ของต�ารับยาประสะน�้านม และควรศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลและความปลอดภัยของต�ารับยานี้ต่อไป
ค�ำส�ำคัญ: ยาประสะน�้านม, ปริมาณน�้านม, การให้นมบุตร
Received date 19/02/21; Revised date 28/10/21; Accepted date 31/03/22
181