Page 134 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 19 ฉบับที่ 3
P. 134

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 19  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2564
            680 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      Vol. 19  No. 3  September-December  2021
                                                                 ปีที่ 19  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2564


                                                                             รายงานเบื้องต้น



           การศึกษาจำานวนครั้งที่เหมาะสมของการนวดไทยในการรักษาอาการ

           ปวดบ่าไหล่



           รพีพล รุณผาบ , ภาณุ คูวุฒยากร , ธนัช นาคะพันธ์ , สุดาทิพย์ คิดหมาย , ภูมินทร์ ชลาชีวะ ,
                                                      †,‡
                       *,¶
                                        *
                                                                         *
                                                                                         *
           กาญจนา หัตถสิน , ภานุพงศ์ ภู่ตระกูล , ดวงแก้ว ปัญญาภู , วันดี ญาณไพศาล , มณฑกา ธีรชัยสกุล ,
                                                          †
                                          ‡
                                                                          §
                         *
                                                                                           †
           กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ ‡
           * กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและจิตเวชทางเลือก โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่ 50100
           † กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี 11000
           ‡ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 10330
           § คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม 73000
           ¶ ผู้รับผิดชอบบทความ:  rabeebol@gmail.com



                                                บทคัดย่อ
                   อาการปวดบ่าไหล่เป็นอาการที่พบได้บ่อย ในทางการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หมายถึง ลมปลายปัตคาดสัญญาณ
              4 หลัง ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการนวดไทย แต่การทบทวนวรรณกรรมพบว่า ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับจำานวนครั้งที่
              เหมาะสมในการรักษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาทางคลินิกแบบไม่มีกลุ่มควบคุมเพื่อหาจำานวนครั้งที่เหมาะสมของ
              การนวดไทยในการรักษาอาการปวดบ่าไหล่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เข้าร่วมวิจัย 30 คนที่มีอาการปวดบ่าไหล่ โดยผู้เข้า
              ร่วมวิจัยจะได้รับการซักประวัติ ตรวจร่างกาย วัด Pressure Pain Threshold (PPT) บริเวณจุดเจ็บ และประเมินระดับ
              ความรู้สึกปวด (Numeric Rating Scale: NRS) จากนั้นจะได้รับการรักษาโดยการนวดไทย 9 ขั้นตอน ครั้งละ 40 นาที
              สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะการศึกษา 6 สัปดาห์ วัด PPT และ NRS หลังการนวด นัดทำาการนวดจนกว่า NRS เหลือ 0 - 1
              สรุปจำานวนครั้งที่นวดในผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละราย วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัย
              ร้อยละ 80.00 หายปวดบ่าไหล่ หลังจากได้รับการนวดเป็นจำานวนครั้งที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับระดับความปวดแรกเริ่ม
              คือ ผู้ที่ปวดระดับเล็กน้อย ได้รับการนวด 1.83 ± 0.75 ครั้ง ผู้ที่ปวดระดับปานกลาง ได้รับการนวด 2.50 ± 1.26 ครั้ง
              ผู้ที่ปวดระดับมาก ได้รับการนวด 3.50 ± 0.71 ครั้ง โดยสรุปการนวดไทยช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าไหล่ ในผู้ป่วย
              ร้อยละ 80.00 หลังจากนวด 2-4 ครั้ง โดยขึ้นอยู่กับอาการปวดแรกเริ่มก่อนการรักษา


                   คำ�สำ�คัญ:  นวดไทย, อาการปวดบ่าไหล่, จำานวนครั้งที่เหมาะสม









           Received date 25/02/21; Revised date 27/09/21; Accepted date 28/10/21


                                                   680
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139