Page 190 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
P. 190

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                                                                   Vol. 19  No. 1  January-April 2021
                     ปีที่ 19  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2564
            172 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก       ปีที่ 19  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2564


                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ:

           กรณีศึกษาหมอเขียน เขื่อนทอง อำาเภอสอง จังหวัดแพร่



           เชาวลิตร์ วงษ์ดี , แสงดาว วงษ์ดี , พาณี ศิริสะอาด , วิมลักษณ์ นพศิริ , กฤษณ์ พงศ์พิรุฬห์ ,
                                       *
                                                      †
                        *,#
                                                                                       §
                                                                      ‡
           มณฑกา ธีรชัยสกุล ¶
            กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสอง จังหวัดแพร่ 54120
           *
            คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
           †
            กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ 54000
           ‡
            คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10330
           §
            กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
           ¶
           # ผู้รับผิดชอบบทความ:  chowvalit_s@hotmail.com


                                                บทคัดย่อ

                   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลัง ศึกษากระบวนการรักษาโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ และศึกษา
              ตำารับยาสมุนไพรรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ของหมอเขียน เขื่อนทอง หมอพื้นบ้านในอำาเภอสอง จังหวัด
              แพร่ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) พบว่าด้านภูมิหลัง หมอเขียน เขื่อนทอง มีลักษณะการ
              สืบทอดภูมิปัญญา จากบรรพบุรุษ หนังสือหรือตำารา จากผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์การใช้สมุนไพรรักษาโรค
              ของหมอเขียน เขื่อนทอง ที่มีระยะเวลาถึง 22 ปี ด้านกระบวนการรักษาโรคของหมอพื้นบ้าน เริ่มจากการซักประวัติ
              อาการของโรค โดยอาการสำาคัญของโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะที่หมอพื้นบ้านวินิจฉัย ประกอบด้วย ปัสสาวะ
              มีสีเหลืองเข้ม ขุ่น แสบขัด และมีก้อนนิ่วหลุดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ร่วมกับปวดที่บริเวณบั้นเอว และปวดร้าว
              ลงขา ส่วนยาสมุนไพรที่จ่ายเป็นยาต้ม ตัวยาที่ใช้ในตำารับยาเป็นสมุนไพรแห้งรวมกัน 11 ชนิด ได้แก่ รากเดือยหิน
              (Coix lachryma-jobi Linn.) รากกล้วยตีบ (Musa ABB group (triploid) cv.‘teep’paradisiaca L.) ใบช้าพลู
              (Piper sarmentosum Roxb.) ใบพลูป่า (Piper macropiper Pennant) ใบพลู (Piper betle L.) เนื้อในฝักคูน
              (Cassia fistula L.) หัวข้าวเย็นเหนือ (Smilax corbularia Kunth) เนื้อไม้ฝางเสน (Caesalpinia sappan L.) ต้นบาน
              ไม่รู้โรยดอกขาว (Gomphrena globosa L.) ต้นหญ้าหนวดแมว (Orthosiphon aristatus (Blume) Miq.) และต้นหญ้า
              พันงูแดง (Cyathula prostrata (L.) Blume.) อีกทั้งจากการศึกษาพบว่าสมุนไพรในตำารับของหมอพื้นบ้าน ปรากฏใน
              ตำาราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ และบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555 แสดงให้เห็นศักยภาพของพืชสมุนไพรและความ
              สอดคล้องของภูมิปัญญาการรักษาโรคระบบทางเดินปัสสาวะของหมอพื้นบ้านที่สัมพันธ์กัน

                   คำ�สำ�คัญ:  หมอพื้นบ้าน, ภูมิปัญญา, สมุนไพร, นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ





           Received date 22/09/20; Revised date 27/11/20; Accepted date 17/03/21


                                                   172
   185   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195