Page 141 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 141

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 18  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2563   Vol. 18  No. 3  September-December 2020




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาคุณภาพเครื่องยาสารส้มสะตุ



            อำ�ไพ พฤติวรพงศ์กุล , สุภัททร� รังสิม�ก�ร †,‡
                              *
            * คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

            † สถาบันการแพทย์แผนไทยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
            ‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: rsupattra@outlook.com











                                                 บทคัดย่อ

                    สารส้มเป็นเครื่องยาธาตุวัตถุที่นิยมนำามาใช้เป็นยามีองค์ประกอบทางเคมี 2 ชนิด ได้แก่ สารส้มโพแทชหรือ
               โพแทชอะลัม (potash alum) และสารส้มแอมโมเนียมหรือแอมโมเนียมอะลัม (ammonium alum) มีฤทธิ์ฝาดสมาน
               มีสรรพคุณในการใช้ทั้งภายนอกและภายใน โดยสารส้มที่เป็นส่วนประกอบในตำารับยาแผนไทยต้องนำามาสะตุก่อน
               นำามาปรุงยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพของสารส้มสะตุที่นำามาสะตุด้วยกรรมวิธีแบบดั้งเดิม และ
               เพื่อวิเคราะห์ชนิดของสารส้มว่าเป็นชนิดใด โดยใช้เทคนิคทางเคมี ผลการศึกษาคุณภาพทางเคมีของสารส้มสะตุพบ
               ว่าสารส้มที่นำามาสะตุเป็นสารส้มแอมโมเนียม และเมื่อสะตุแล้วพบว่ามีปริมาณเกลือแอมโมเนียม ปริมาณสารที่ไม่
                     ้
               ละลายนำา ปริมาณอะลูมินา ปริมาณเหล็ก ปริมาณสารหนู ปริมาณทองแดง ปริมาณสังกะสี และปริมาณแคลเซียม
               สูงขึ้นกว่าสารส้มที่ยังไม่สะตุ สารส้มและสารส้มสะตุมีความเป็นกรดโดยมีค่า pH เท่ากับ 3.47 และ 3.54 ตามลำาดับ
                                               ้
               ผลการสะตุสารส้มพบว่าสารส้มที่สะตุแล้วมีนำาหนักที่หายไปคิดเป็นร้อยละ 53.65 ± 0.55 (n = 18) จากผลการศึกษา
                                      ้
               สรุปได้ว่าการสะตุทำาให้ปริมาณนำาในโมเลกุลหายไป ทำาให้ผลวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธาตุ
               เหล็กเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ช่วยสนับสนุนภูมิปัญญาไทยในการนำาสารส้มสะตุมาเข้า
               ตำารับยา และมีกรรมวิธีการสะตุสารส้มก่อนนำามาปรุงยา นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าสารส้มสะตุที่มีจำาหน่าย
               ในท้องตลาดมีค่าการวิเคราะห์ทางเคมีใกล้เคียงกับสารส้มที่ยังไม่ได้สะตุ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการสะตุไม่สมบูรณ์ หรือ
               การเก็บรักษาสารส้มสะตุที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นจึงจำาเป็นต้องเก็บในภาชนะปิดสนิทและป้องกันความชื้น
                    คำ�สำ�คัญ:  สารส้ม, สารส้มสะตุ, การสะตุ, สารส้มแอมโมเนียม, สารส้มโพแทช












            Received date 18/05/20; Revised date 24/08/20; Accepted date 30/10/20


                                                    573
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146