Page 44 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 44

44      วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก        ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563





                                  62S007 : การประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อ

                                  เข่าเสื่อมด้วยตนเองในผู้สูงอายุ บ้านหนองบัวหลวง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร



                                                                        4
                                                       3
                                                                                        5
                                        2
                          1
               ศุภกร หีบทอง , เพ็ญศิริ จันทร์แอ , จุฑาทิพย์ ศิริศิลป์  , พิทักษ์ชน บุญสินชัย , ศุภกร แนมพลกรัง
               สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร 1,2,3
                       หลักการและเหตุผล โรคข้อเสื่อมโดยทั่วไปพบสูงถึงร้อยละ 60 ในกลุ่มที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จากการลงพื้นที่
               สำรวจสภาพปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนบ้านหนองบัวหลวง ทั้งหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 11 พบว่ามีจำนวนประชากร

               ทั้งหมด 1,534 คน มีผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 45 ราย ซึ่งสาเหตุที่เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
               ของคน ในชุมชนนี้อาจมีสาเหตุมาจากคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ส่งผลต่อการเกิดโรค

               ได้  ดังนั้นสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของโรคข้อเข่าเสื่อมจึงสนใจที่จะนำความรู้ทางด้าน

               การแพทย์แผนไทยมาบูรณาการในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม และได้นำความรู้มาประยุกต์ใช้กับทฤษฎีความสามารถ
               ของตนเองต่อการลดความเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มผู้สูงอายุนี้

                       วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมด้วย

               ตนเองในผู้สูงอายุ บ้านหนองบัวหลวง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของ

               คะแนนโดยการประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองในผู้สูงอายุ บ้านหนอง
               บัวหลวง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ทั้งก่อนและหลังการทดลอง ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ 3) เพื่อศึกษาผล

               คะแนนเฉลี่ยความสามารถตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ

                       วิธีดำเนินการ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ชนิดสองกลุ่มวัดผลสอง

               ครั้งก่อนและหลังการทดลอง (Two-Group Pretest-posttest Design with Comparison Group) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่ม
               ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มทดลอง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุบ้านหนองบัวหลวง จำนวน 30 คน ขอความร่วมมือสมัครใจเข้า

               ร่วมโปรแกรมสุขภาพตลอดทั้ง  12 สัปดาห์ และกลุ่มเปรียบเทียบ ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ บ้านวาใหญ่ ตำบลวาใหญ่ อำเภอ

               อากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 30 คน ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมสุขภาพ แต่เมื่อสิ้นสุดโปรแกรม จะมีการให้สุขศึกษาเรื่อง
               อาการปวดเข่า การปฏิบัติตัว การดูแลสุขภาพเมื่อเกิดอาการปวดเข่า งานวิจัยเรื่องนี้ได้ผ่านการรับการพิจารณาจริยธรรมวิจัย

               ในมนุษย์จาก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน เอกสารรับรอง SWDCPH 2017-018 รหัสรับรองโครงการเลขที่
               798/2560 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560


                       ผลการศึกษา พบว่าหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์ของการมีพฤติกรรมที่ลดอาการปวดเข่า
               เพิ่มขึ้น 2.63 คะแนน หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังในผลลัพธ์เพิ่มขึ้น 3.63 คะแนน (p<0.05) ใน

               ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดเข่า ซึ่งหลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวด
               เข่า เพิ่มขึ้น 3.03 คะแนน หลังการทดลองระหว่างกลุ่ม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดเข่า
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49