Page 39 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 39

39
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020





                                   emS70 : ผลของการกักน้ำมันหญ้าขัดมอญต่อการรักษาโรคนิ้วล็อกระดับที่ 2



                                        1
                                                     1
                                                                                1
                                                                   1
                         1
                                                                                             1
                                                                                                        2
               อารีซัน วาแต , กมลวรรณ กลับดี , ศันสนีย์ สะแปอิง , สุปรียา วิสุทธิโช , ชวนชม ขุนเอียด , ศิริรัตน์ ศรีรักษา , ซารีนิง ยี่เต๊ะ ,
                                       4
                            3
               อรวรรณ ชัยภักดี , มารีนา สุหรง
               1 สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
               2 โรงพยาบาลควนขนุน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
               3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแหลมโตนด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
                 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
                4
                      หลักการและเหตุผล โรคนิ้วล็อกเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอข้อนิ้วมือ ทำให้
               เส้นเอ็นหนาตัวขึ้นและเกิดการฝืด ติดขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอหรือเหยียดนิ้วมือ ในทางการแพทย์แผนไทย เรียกโรคนี้
               ว่า ลมปลายปัตคาดนิ้วมือ การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่ใช้การนวดและการประคบสมุนไพร จากการ
               ทบทวนเอกสารงานและวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่าการกักน้ำมันเป็นหัตถการที่ช่วยหล่อลื่น ลดการติดขัดของข้อกระดูก ลด
               ปวด และลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ แต่ยังไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวกับการกักน้ำมันในการรักษาโรคนิ้วล็อก ผู้วิจัยจึงสนใจ
               ที่จะศึกษาผลการกักน้ำมันหญ้าขัดมอญในการรักษาผู้ป่วยโรคนิ้วล็อก

                      วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความปวดและองศาการงอของนิ้วมือในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกระดับที่ 2 ก่อน

               และหลังได้รับการรักษาด้วยการกักน้ำมันหญ้าขัดมอญ และประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยหลังสิ้นสุดการรักษา

                      วิธีการดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกระยะที่ 2 ในอำเภอควน
               ขนุน จังหวัดพัทลุง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีกลุ่มตัวอย่างผ่านเกณฑ์การคัดเข้าทั้งหมด 20 คน กลุ่มตัวอย่าง
               ได้รับการกักน้ำมันหญ้าขัดมอญสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 เดือน และติดตามอาการหลังสิ้นสุดการรักษาไปแล้ว 2
               สัปดาห์ และ 1 เดือน ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง โดยวัดระดับความปวด (Numeric rating scale) และวัดองศา

               การงอของนิ้วมือด้วย Goniometer จากนั้นให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจหลังสิ้นสุดการรักษา วิเคราะห์ข้อมูล
               โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Paired Samples t-test

                       ผลการศึกษา พบว่าระดับความปวดก่อนและหลังการรักษาเท่ากับ 6.25±1.29 และ 3.30±1.30 ติดตามอาการ
               หลังสิ้นสุดการการรักษาไปแล้ว 2 สัปดาห์และ 1 เดือนพบว่าระดับความปวดเท่ากับ 3.80±1.24 และ 4.40±1.05 องศา
               การงอนิ้วก่อนและหลังการรักษาเท่ากับ 50.50±25.17 และ 65.95±20.90 หลังสิ้นสุดการรักษาไปแล้ว 2 สัปดาห์ และ 1

               เดือนเท่ากับ 59.30±25.34 และ 55.35±25.43 ระดับความปวดและองศาการงอของนิ้วมือก่อนและหลังการรักษา
               แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการรักษาอยู่ในระดับมากที่สุด
               (4.80±0.17)

                       ข้อสรุป การกักน้ำมันหญ้าขัดมอญในผู้ป่วยโรคนิ้วล็อกระดับที่ 2 สามารถลดอาการปวดของข้อนิ้วและเพิ่ม

                องศาการงอนิ้วได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากการติดตามอาการหลังจากที่ผู้ป่วยหยุดกักน้ำมันทำให้ทราบ
                ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดเพิ่มขึ้นและงอนิ้วได้น้อยลง จึงสรุปได้ว่า การกักน้ำมันหญ้าขัดมอญสามารถนำมาใช้ในการรักษา

                โรคนิ้วล็อก  ในระยะที่ 2 ได้ โดยผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ไปกระตุ้นทำ

                ให้อาการกำเริบ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44