Page 42 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 42
42 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563
62S002 : ความชุกโรคโลหิตสตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัย
1
1
2
1
1
3
เปรมยุตา สีสิทธิ , สุดารัตน์ สันวิจิตร , เบญจริยาพร ยุ่นเซ็ง ,ยุพา เต็งวัฒนโชติ , กนกอร สมบัติ , วัฒนา ชยธวัช
1 วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
2 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
3 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
หลักการและเหตุผล กลุ่มอาการโรคโลหิตสตรีตามคัมภีร์มหาโชตรัตยังคงมีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ การสำรวจ
ด้วยตัวอย่างจะสามารถยืนยันความชุกของโรคโลหิตสตรีตามคัมภีร์ดังกล่าวได้
วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความชุกกลุ่มอาการโรคโลหิตสตรีในทางการแพทย์แผนไทยของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง
วิธีการ การสำรวจโดยการสุ่มตัวอย่างตามสะดวกจากประขากรนักศึกษาหญิงที่รับการตรวจร่างกายประจำปี
จำนวน 2,100 คน โดยสูตรของ Taro Yamane ค่าความคลาดเคลื่อน 10% ต้องเก็บข้อมูลนักศึกษา 96 คน แบบ
สำรวจได้จัดทำอาการของโรคโลหิตสตรีที่ระบุในคัมภีร์มหาโชตรัตให้เป็นภาษาปัจจุบันเพื่อง่ายต่อความเข้าใจในการ
ตอบแบบสอบถามที่ผ่านการประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC : Index of Item -
Objective Congruence) โดยผู้ทรงคุณวุฒิทางเวชกรรมไทย 3 ท่าน
ผลการศึกษา การสำรวจกลุ่มนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมีช่วงอายุ
ระหว่าง 18 – 25 ปี จำนวน 100 คน พบว่า นักศึกษาเคยเป็นโรคโลหิตสตรีแบบปกติโทษ โลหิตอันเกิดแต่กองธาตุ
และ โลหิตทุจริตโทษ ร้อยละ 44 39 และ 17 ตามลำดับ นักศึกษาเพียงร้อยละ 6 ตอบว่ามีการใช้ยาแผนปัจจุบัน
เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับตนเองในช่วงก่อนมีประจำเดือนและช่วงที่มีประจำเดือน
ข้อสรุป กลุ่มอาการโรคโลหิตสตรีตามคัมภีร์มหาโชตรัตยังปรากฏอยู่ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยทั้งอาการ
ปกติโทษ อาการโลหิตอันเกิดแต่กองธาตุ และ อาการโลหิตทุจริตโทษ