Page 48 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 48
48 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563
ผลการตรวจ Electrocardiogram (EKG) ต้องไม่พบลักษณะคลื่นหัวใจ QT interval ผิดปกติ, ST segment
เปลี่ยนแปลงผิดปกติ , และ pathologic Q wave ไม่เคยได้รับประทานยาที่มีผลต่อความดันโลหิตหรือรับประทานยา
ที่มีผลต่อระดับความดันโลหิตเพียง 1 ชนิด ไม่อยู่ระหว่างโครงการวิจัยอื่น เกณฑ์การคัดออก คือ เป็นความดันโลหิต
สูงชนิดทุติยภูมิ เป็นโรคเบาหวาน โรคไต (มีค่า Creatinine มากกว่า 1.5 mg/dL และหรือ มีค่า eGFR ต่ำกว่า 30
2
ml/min/m ) มีค่าโพแทสเซียมน้อยกว่า 3.4 mmol/L มีภาวะตั้งครรภ์หรือระหว่างให้นมบุตร มีประวัติเเพ้ยา
สมุนไพร หรือยาลดความดันโลหิต (แอมโลดีปีน) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลที่
ผ่านการสอบทียบ แบบบันทึกผู้ป่วย (case record form) วิเคราะห์ผลด้านประสิทธิผลการเปลี่ยนเเปลงระดับคาม
ดันโลหิตด้วยสถิติ Repeated Measure Anova เเละประเมินความปลอดภัยจากการตรวจร่างกาย ผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการโดยใช้สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดสอบ การศึกษานี้ได้รับการอนุมัติจาก
คณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 6 ตุลาคม 2560
ผลการศึกษา อาสาสมัครที่มาติดตามการรักษาครบทั้ง 4 ครั้ง จำนวน 61 คน เป็นกลุ่มที่ได้รับยาแอมโลดีปีน
จำนวน 33 คน และกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบจำนวน 28 คน พบว่าทั้งยาเม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบแดงเเละยา
แอมโลดีปีน สามารถลดค่าเฉลี่ยความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว (systolic blood pressure ; SBP) ก่อนการรักษา
และหลังการรักษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p<0.0 5 ) เท่ากับ 150.85±6.39, 132.66±9.04 และ
152.89±7.19, 141.11±11.93 ในกลุ่มที่ได้รับยาแอมโลดีปีนและยาเม็ดกระเจี๊ยบแดงตามลำดับ และพบว่ากลุ่มที่
ได้รับยาแอมโลดีปีนนั้นสามารถลดความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว (diastolic blood pressure ; DBP) ก่อนการ
รักษาและหลังการรักษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า p<0.05) เท่ากับ 84.25±7.05,74.42±6.76 ส่วนยาเม็ดสาร
สกัดกระเจี๊ยบพบว่ามีแนวโน้มลดลงแต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบค่า SBP และค่า
DBP ระหว่างกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกันในระหว่าง 2 กลุ่ม ทั้งนี้พบรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
เม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบแดง ได้แก่ ปวดศีรษะ ร้อนตามร่างกาย และคัน
ข้อสรุป ยาเม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบแดงมีประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตระดับ
อ่อน ซึ่งอาจใช้รักษาผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตระดับอ่อนหรือใช้ร่วมกับยาลดความดันโลหิตตัวอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์ในการ
รักษา เนื่องจากกระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และนำผลการวิจัยไปต่อยอดการใช้สมุนไพรกระเจี๊ยบแดงอย่างมี
ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในชุมชนเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงและหากมี
การศึกษาครั้งต่อไปเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง ทีมผู้วิจัยควรมีการวางแผนในการให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมของประชาชนร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อคุณภาพของการรักษาและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่อไป