Page 43 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 43
43
Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020
62S003 : ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน สักยารักษาโรค กรณีศึกษา : นายชเอม
ขุมเพชร
2
2
2
1
1
ศิริภัสสร บริบูรณ์ , สุทธิณีย์ กันทะวงค์ , กุลวรางค์ กรณ์แก้ว , ศุภวัฒน์ สายพานิช , วศิน บำรุงชัยชนะ
1 นักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
2
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
หลักการและเหตุผล แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพทางปัญญาของ
ระบบสุขภาพ เน้นการแพทย์แผนไทย สมุนไพร และการแพทย์ทางเลือกทั้งจากภูมิปัญญาไทยและสากล ทำให้
การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาของประเทศ และกลายเป็นการแพทย์ทางเลือกสาขาหนึ่งทางด้านสุขภาพของคน
ไทยจนถึงปัจจุบัน การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยจะอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย หัตถเวชกรรม เภสัช
กรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย ซึ่งแพทย์แผนไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษาองค์ความรู้
วิชาชีพต่าง ๆ รวมถึงองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านไทย นักวิจัยจึงสนใจทำการศึกษาเกี่ยวกับการแพทย์พื้นบ้านไทยที่
ยังไม่เป็นที่รู้จักและไม่ได้รวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษร คือ การสักยารักษาโรค จากนายชเอม ขุมเพชร แพทย์แผน
ไทยจังหวัดกำแพงเพชรที่มีองค์ความรู้ด้านการแพทย์พื้นบ้านไทยการสักยารักษาโรค เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิ
ปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้คงอยู่ต่อไป
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎีการสักยารักษาโรคของนายชเอม ขุมเพชร
วิธีดำเนินการ งานวิจัยนี้นักวิจัยสร้างเครื่องมือการวิจัย และตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ
(IOC) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลชีวประวัติ องค์ความรู้และกระบวนการรักษาของนายชเอม ขุมเพชร ใช้วิธีการ
สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกต ใช้กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวและแบบภาพนิ่ง รวมทั้ง ใช้การบันทึกเสียง
ผลการศึกษา เมื่อศึกษาพบว่า องค์ความรู้การสักยารักษาโรคของนายชเอม ขุมเพชร คือ การผสมผสานกัน
ระหว่างความรู้จากการศึกษาทางด้านการแพทย์พื้นบ้านการนวดรักษาและการทำน้ำมันสมุนไพรรักษาจากแพทย์
พื้นบ้านจังหวัดสุโขทัย กับการศึกษาการแพทย์พื้นบ้านการสักยาจากแพทย์พื้นบ้านจังหวัดลำพูน โดยองค์ความรู้ที่ได้
จะนำไปใช้เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยให้หายจากอาการเจ็บป่วย องค์ความรู้ดังกล่าวประกอบด้วยแนวเส้นการสัก ข้อ
ปฏิบัติและ ข้อห้าม วัสดุอุปกรณ์ วิธีการสัก วิธีการรักษา รวมถึงน้ำมันสมุนไพร โดยตลอดระยะ 2 ปี นายชเอม ขุม
เพชร ใช้การสักยารักษาโรคให้กับผู้ป่วยส่วนใหญ่ในกลุ่มอาการเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ เช่น อาการปวดขา ปวดหลัง
และปวดเข่า เป็นต้น
ข้อสรุป การสักยารักษาโรคของนายชเอม ขุมเพชร เป็นการแพทย์พื้นบ้านไทยอีกวิธีหนึ่งที่ใช้รักษาผู้ป่วยได้
ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าว เป็นเพียงการศึกษา เป็นการรวมรวมข้อมูล และถอดองค์ความรู้เท่านั้น อาจจะใช้เป็น
ฐานข้อมูลในการศึกษาวิจัยเชิงคลินิกต่อไป