Page 47 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 47
47
Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020
162R2R010 : การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของยาเม็ด
สารสกัดกระเจี๊ยบเเดงกับยาแอมโลดีปีน ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงระดับ
อ่อน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย
ภริตา ทองยา, ทิพพาวดี สืบนุการณ์, อัญชลี พิมพ์รัตน์, ไพโรจน์ ทองคำ, เยาวพา สิงห์สถิตย์ , สุวิมล ศรีแสง, ชัยรัตน์ จันธุ , ศิริพร
สิทธิศักดิ์ , รัชนี เชอร์บาร์ค๊อฟ, อนัญญา เย็นขัน
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย
หลักการและเหตุผล โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตและทุพพลภาพที่สำคัญ
ของประชากรทั่วโลก สำหรับประเทศไทย พบว่าในปี พ.ศ. 2558 มีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคความดันเพิ่มมากขึ้นเป็น
3 เท่าจากปี พ.ศ. 2556 และ สำหรับสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย
พบว่ามีการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี มีความชุกร้อยละ 9 ของประชากรและมีอัตราป่วย
ร้อยละ 8.2 เป็นอันดับ 2 ของผู้ป่วยนอก ในปี 2561 และในปี 2562 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้น
กลายเป็นกลุ่มโรคอันดับ 1 ของผู้ป่วยนอก และพบว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จำเกิดโรคเรื้อรังหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย เป็นโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาอย่างปลอดภัย จึงได้
สืบค้นข้อมูลสมุนไพรในท้องถิ่น พบว่ากระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรในท้องถิ่นที่รู้จักและใช้กันมายาวนาน ทั้งในรูปแบบ
ของการนำมาประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม และปัจจุบันกระเจี๊ยบแดงอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ใช้เป็นยาขับ
ปัสสาวะ ซึ่งอยู่ในรูปของชาชง กระเจี๊ยบแดงมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตทั้งมีความปลอดภัย ดังนั้นทีมวิจัย
จึงสนใจที่จะนำกระเจี๊ยบเเดงมาศึกษาเพื่อยืนยันถึงประสิทธิผลเเละความปลอดภัยในการใช้ยาในกลุ่มอาสาสมัคร
อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ทั้งนี้เพื่อต่อยอดเเละส่งเสริมการใช้สมุนไพรโดยการพึ่งตนเองด้านสุขภาพของประชาชน
ในชุมชน
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาเม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบกับยาแอมโลดีปีนในการ
รักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับอ่อน 2) เพื่อศึกษาผลข้างเคียงของยาเม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบเเดงกับยาแอมโลดีปีนที่
อาจเกิดขึ้นในระหว่างการศึกษาวิจัย
วิธีดำเนินการ การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงทดลอง โดยมีรูปแบบการทดลองเป็น Double Blind
Randomize Control Trial ในอาสาสมัครจำนวน 74 ราย ที่มีค่าความดันโลหิตระดับอ่อน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 37 คน
กลุ่มที่ 1 รับประทานยาแอมโลดีปีน กลุ่มที่ 2 รับประทานยาเม็ดสารสกัดกระเจี๊ยบเเดง ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 3
เดือน (สัปดาห์ที่ 0, 4, 8 เเละ 12) ในเเต่ละครั้งอาสาสมัครจะได้รับการประเมินความดันโลหิตท่านอนเเละท่ายืน เเละ
ติดตามการเจาะเลือดเพื่อประเมินความปลอดภัยจากการใช้ยา ทั้งนี้เกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ คือ เป็นเพศ
ชายเเละหญิง อายุระหว่าง 40 - 70 ปี ได้รับการตรวจร่างกายเเละการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงระดับอ่อน