Page 46 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 46

46      วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก        ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563







                                    emS67 : ผลของการอบสมุนไพรต่ออาการปวดศีรษะในผู้ป่วยลมปะกัง



                                                                                            1
                                                                 1
                                                  1
                                                                               1

                                      1
                           1
               นูรีดา กือลือแม , ซีตีมารีแยยูนุ , นัสมี มะดีเยาะ , อาซือมัด บือราเฮง , ชวนชม ขุนเอียด , ศิริรัตน์ ศรีรักษา , บุษกร เศียรอุ่น 2
               1 สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
                2  โรงพยาบาลป่าพะยอม อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
                       หลักการและเหตุผล โรคลมปะกังเป็นโรคที่เกิดจากลมอุทธังคมาวาตาพิการและลมระคนด้วยกำเดา ซึ่งเป็น
               ลมร้อนตีขึ้นเบื้องสูงถึงศีรษะ ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดขมับ ปวดตึงกล้ามเนื้อบ่าและต้นคอ อาจ
               มีอาการอาเจียนร่วมด้วย โดยลมปะกังเทียบได้กับโรคทางแผนปัจจุบันคือ โรคไมเกรน จากสถิติทั่วโลกอาการปวด
               ศีรษะไมเกรนเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อย ในทางการแพทย์แผนไทยมีวิธีการรักษาลมปะกังหลายวิธี หนึ่ง
               ในนั้นคือการอบสมุนไพร จากการทบทวนเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องยังไม่พบรายงานการวิจัยที่เกี่ยวกับการอบไอน้ำ

               สมุนไพรในการรักษาโรคลมปะกัง ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลของการอบไอน้ำสมุนไพรต่ออาการปวดศีรษะในผู้ป่วย
               ลมปะกัง

                       วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับอาการปวดศีรษะ จำนวนครั้งของอาการปวดศีรษะใน 1 สัปดาห์ องศา
               การเอียงคอทางซ้ายและทางขวาในผู้ป่วยลมปะกังก่อนและหลังการรักษาด้วยการอบไอน้ำสมุนไพร และประเมิน

               ความพึงพอใจของผู้ป่วย

                       วิธีการดำเนินงาน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคลมปะกังซึ่งเป็นนิสิตคณะ
               วิทยาการสุขภาพและการกีฬา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง มีกลุ่มตัวอย่างผ่านเกณฑ์การคัดเข้าทั้งหมด 25 คน
               กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการอบไอน้ำสมุนไพร 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลก่อนและหลังการทดลอง
               โดยวัดระดับความเจ็บปวด จำนวนครั้งของอาการปวดศีรษะต่อสัปดาห์ และวัดองศาการเอียงคอทางซ้ายและทางขวา
               ด้วย Goniometer และให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจหลังสิ้นสุดการรักษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง

               พรรณนาและสถิติ Paired Samples t-test

                       ผลการศึกษา พบว่าระดับอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยโรคลมปะกังก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 6.00±1.29
               และ 3.00±0.96 จำนวนครั้งของอาการปวดศีรษะก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 2.72±1.43 และ 0.40±0.65 องศา
               การเอียงคอก่อนและหลังการทดลอง ทางซ้ายเท่ากับ 22.92±4.06 และ 31.96±5.09 ส่วนทางขวาเท่ากับ

               22.08±2.80 และ 31.60±4.72 ระดับอาการปวดศีรษะ จำนวนครั้งของการปวดศีรษะ และองศาการเอียงคอ ก่อน
               และหลังการอบไอน้ำสมุนไพรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อ
               การรักษาอยู่ในระดับมากที่สุด (4.75±0.22)

                       ข้อสรุป การอบไอน้ำสมุนไพรสามารถช่วยลดระดับอาการปวดศีรษะ ลดจำนวนครั้งของอาการปวดศีรษะ
               และเพิ่มองศาการเอียงคอทางซ้ายและทางขวาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่าการ

               อบไอน้ำสมุนไพรสามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคลมปะกัง ช่วยลดอาการปวดศีรษะและช่วยให้กล้ามเนื้อ
               บริเวณคอและบ่าคลายตัว ทำให้ผู้ป่วยโรคลมปะกังมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งยาแก้ปวด
   41   42   43   44   45   46   47   48   49