Page 34 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 34
34 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปี ที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (ฉบับเสริม) 2563
62G008 : ประสิทธิผลของการรับประทานแคปซูลหอมแดงร่วมกับยาชื่อสามัญของ
เซทิริซีนในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
3
1
1
2
1
วรางคณา อาภรณ์ชยานนท์ , โสรญา กลิ่นปรุง , สุนีย์ จันทร์สกาว , ณัฐิยา หาญประเสริฐพงษ์ , สายสวาท ไชยเศรษฐ
1 ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2
ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรมและศูนย์นวัตกรรมสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3 ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หลักการและเหตุผล การรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้โดยทั่วไปประกอบด้วยการให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงสาร
ก่อภูมิแพ้และรับประทานยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงหรือพ่นจมูกด้วยสเตียรอยด์อย่างต่อเนื่อง การแพทย์พื้นบ้านไทยแนะนำ
ให้รับประทานหอมแดงอย่างน้อย 1 หัวต่อวันเพื่อบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ โดยกลไกการออกฤทธิ์ต้านภูมิแพ้
อาจผ่านสารเคอซิตินซึ่งสามารถยับยั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดมาสต์ไม่ให้หลั่งฮิสตามีนได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังไม่เป็นที่
นิยมเนื่องจากขาดข้อมูลสนับสนุนทางคลินิก
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรับประทานแคปซูลหอมแดงเสริมในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจาก
ภูมิแพ้เปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับแคปซูลยาหลอก โดยให้ร่วมกับการรักษามาตรฐานคือยาชื่อสามัญของเซทิริซีน
วิธีดำเนินการ การศึกษานำร่องนี้เป็นการทดลองเป็นแบบสุ่มไปข้างหน้า มีการควบคุมและปกปิดสองทาง
ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ที่มีอาการเข้าเกณฑ์ถูกสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองที่ได้รับการรักษาด้วย
แคปซูลหอมแดง 3 กรัมต่อวัน (เทียบเท่ากับหอมแดงสด 1 ½ หัว) ร่วมกับยาชื่อสามัญของเซทิริซีนขนาด 10
มิลลิกรัมต่อวัน นาน 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการรักษาด้วยแคปซูลยาหลอกร่วมกับยาเซทิริซีน การ
ประเมินผลใช้คะแนนของอาการทางจมูกและตา ค่าแรงต้านทานในจมูก คุณภาพชีวิตและผลข้างเคียง ผู้ป่วยบันทึก
คะแนนความรุนแรงของอาการคัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหล ด้วยตนเองทุกวันเพื่อให้ผู้วิจัยสรุปคะแนนรวมเฉลี่ยทุก 1
สัปดาห์ การประเมินแรงต้านทานในจมูกใช้เครื่องมือไรโนมาโนเมตรีทั้งก่อนและหลังการรักษา มีผู้ป่วยจำนวน 42
รายเข้าร่วมในงานวิจัย แบ่งเป็นผู้ป่วย 21 รายต่อกลุ่ม
ผลการศึกษา ภายหลังการรักษาเป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีคะแนนอาการภูมิแพ้ทางจมูก
ตา และคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าก่อนการรักษาอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ทั้งนี้ ร้อยละ 71.4
ของผู้ป่วยกลุ่มหอมแดงและร้อยละ 57.1 ของผู้ป่วยกลุ่มควบคุมมีคะแนนความรุนแรงของอาการทางจมูกลดลงหลัง
การรักษา โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนในกลุ่มหอมแดงลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 7.19 + 1.12 เป็น 2.87 + 1.80 ส่วน
กลุ่มควบคุมลดจาก 7.24 + 1.14 เป็น 3.46 + 2.84 อาการจาม คัดจมูก คันจมูกและคันตาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เฉพาะในกลุ่มหอมแดงภายหลังได้รับการรักษาไปแล้ว 2 สัปดาห์ อาการจามคืออาการที่ผู้ป่วยซึ่งได้รับหอมแดงเสริมมี
การตอบสนองสูงที่สุดคือร้อยละ 92.0 ในขณะที่อัตราการตอบสนองในผู้ป่วยกลุ่มควบคุมคือร้อยละ 61.9 ค่าแรง
ต้านทานในจมูกไม่เปลี่ยนแปลง ผลข้างเคียงจากการรับประทานแคปซูลหอมแดงไม่แตกต่างจากแคปซูลหลอก
ข้อสรุป การรับประทานแคปซูลหอมแดงเสริมช่วยบรรเทาอาการของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและเห็นผลเร็วกว่าการรับประทานยาชื่อสามัญของเซทิริซีนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการรับประทาน
หอมแดงปริมาณ 1 หัวครึ่งต่อวันเป็นประจำจึงน่าจะมีประโยชน์และปลอดภัยต่อผู้ป่วยโรคภูมิแพ้