Page 35 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 35

35
        Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine   Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020





                                  62S001 : ประสิทธิผลการนวดไทยระหว่างการนวดแบบราชสำนักกับการนวดแบบ
                                  ราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม



                                                                       2
                                                                                   3
                                                         1
                             1
                                             1
               อมรรัตน์ เรืองสกุล , ทิพรดา ปานาภรณ์ , เสาวนีย์ แซ่ซิ้ม , ทับทิม ย้อยสนิท , วัฒนา ชยธวัช
               1 วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
               2 ศูนย์แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลบ้านนา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก
               3 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยปทุมธานี
                       หลักการและเหตุผล ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่เข้ารับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในช่วงปี

               2554 – 2557 พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารับบริการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8,250 ราย จนเป็น 274,133 ราย ทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
               ต่อเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น การศึกษาถึงการรักษาโรคโดยวิธีการนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการ

               ประคบสมุนไพร อาจนำไปสู่การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีประสิทธิผลมากขึ้น
                       วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ระดับความเจ็บปวดของข้อเข่า ก่อน

               และหลังการรักษาด้วยวิธีการนวดไทยแบบราชสำนัก (กลุ่ม 1) และการนวดไทยแบบราชสำนักร่วมกับการประคบ

               สมุนไพร (กลุ่ม 2)
                       วิธีดำเนินการ อาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก มีอายุเฉลี่ยกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 มี

               อายุเฉลี่ย (ปี); ดัชนีมวลกายเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อตารางเมตร); ระยะเวลาปวดเข่าเฉลี่ย (ปี) ดังนี้ 70.4 และ 69; 26.25
               และ 27.33; และ 5.60 และ 6.27 ตามลำดับ

                       ผลการศึกษา การทดสอบความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยที่จำแนกตามระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่า

               เสื่อม ที่ระดับคะแนน OKS 4 ระดับ คือ 0-19 20-29 30-39 และ 40-48 ในแต่ละครั้งว่าแตกต่างกันหรือไม่ ด้วยการ
               ทดสอบภาวะสมรูป ที่นัยสำคัญ = 0.01 degrees of freedom = 3 ทั้งกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 มีผลการทดสอบครั้งที่ 1

               กับครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 2 กับครั้งที่ 3 ไม่มีความแตกต่างกัน แต่ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 3 มีความแตกต่างกัน กล่าวคือ เมื่อ
               การรักษาครบ 3 ครั้ง สัดส่วนของจำนวนอาสาสมัครในช่วงระดับคะแนน OKS ระดับสูงมีเพิ่มมากขึ้น  การทดสอบ

               ค่าเฉลี่ยระดับความปวดเข่าก่อนและหลังในการรักษาแต่ละครั้งด้วย Paired sample t test พบว่า ทั้งกลุ่ม 1 และ

               กลุ่ม 2 ล้วนมีผลให้ระดับความปวดลดลงทุกครั้ง
                       ข้อสรุป การทำหัตถการประคบสมุนไพรเพิ่มขึ้นไปจากการนวดรักษาเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ป่วยมีความพึง

               พอใจมากกว่า และก็มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต่ำกว่ากลุ่มที่ทำการนวดเพียงอย่างเดียวด้วย แม้ว่าทั้งสองวิธีการ
               ทดลองแต่ละครั้ง มีผลค่าเฉลี่ยความรุนแรงของโรคที่ลดลง (คะแนน OKS เพิ่มขึ้น) โดยสังเกตได้จากสัดส่วนกลุ่มผู้ที่มี

               คะแนน OKS สูงมีจำนวนเพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยของระดับความปวดลดลงก็ลดลงด้วยเช่นกัน เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองวิธี

               เมื่อสิ้นสุดโครงการ พบว่ามีประสิทธิผลเปรียบเทียบแต่ละวิธีที่พิจารณาจากความแตกต่างก่อนและหลังเข้าร่วม
               โครงการไม่แตกต่างกัน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40