Page 33 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (วารสารเสริม) 2563
P. 33
33
Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine Vol.18 No.2 May-August (Supplement) 2020
emG6 : การศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยในการเพิ่มน้ำนมของยาปลูกไฟธาตุ
ในหญิงหลังคลอดที่มีน้ำนมน้อย
1
1
1
1
1
1
นิลเนตร วีระสมบัติ , ดิศดนัย อมัตรวงศ์ , วิไล ประกอบกิจ , ธิติยา ตันถาวร , โอสรี สวัสดิ์ศรี , ชไมพร มณีรัตนพันธ์ , สุพา จันทร
2
2
2
1
2
2
1
วิวัฒน์ , ปัทมา พลตื้อ , อารีย์ เชื้อเดช , วาสุเทพ แซ่เตีย , เกสรา รักษ์จันทึก , กนกนภา นภาสวัสดิ์ , ธีรนุช สีสะอาด , อุษณี สินธุ
พัฒนพันธุ์ และ กฤษณี สระมุนี
2
2
1 โรงพยาบาลสูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
2 โรงพยาบาลสีคิ้ว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา
หลักการและเหตุผล การที่แม่หลังคลอดมีน้ำนมน้อยหรือมีไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถให้นมลูกได้ตามปกติ
“ยาปลูกไฟธาตุ”เป็นตำรับยาแผนไทยที่ช่วยกระตุ้นน้ำนมได้ อยู่ในคัมภีร์มหาโชตรัตซึ่งเป็นตำราการแพทย์แผนไทย
สำหรับโรคของสตรี และได้รับการคัดเลือกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในปี 2555 แต่ยังไม่พบว่ามีการศึกษา
ประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้ยาตำรับนี้
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการเพิ่มน้ำนม และความปลอดภัยของยาปลูกไฟธาตุในหญิงหลัง
คลอดที่มีน้ำนมน้อย
วิธีการศึกษา การวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมและปกปิดแบบสองทาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หญิง
หลังคลอดครรภ์ครบกำหนดที่คลอดปกติ ที่โรงพยาบาลสูงเนิน และโรงพยาบาลสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ศึกษา
ระหว่างวันที่ 5 เมษายน 2560 ถึง 30 พฤศจิกายน 2561 ในตัวอย่างจำนวน 49 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาปลูกไฟ
ธาตุ และยาหลอก กลุ่มละ 24 และ 25 คน ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มได้รับยาครั้งแรกเมื่อครบ 2 ชั่วโมงหลังคลอด เก็บ
ปริมาณน้ำนมโดยวิธีใช้เครื่องปั๊มนมไฟฟ้า การทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ Independent t test, Mann-Whitney
test และ Chi-square test โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา กลุ่มที่ได้รับยาปลูกไฟธาตุและกลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีปริมาตรน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติในระยะเวลา 3 วัน จากจุดเริ่มต้นของการศึกษา (P <0.001) โดยกลุ่มที่ได้รับยา ปลูกไฟธาตุเพิ่มปริมาตร
น้ำนมได้เฉลี่ย 51.01 54.97 มิลลิลิตร ส่วนกลุ่มยาหลอกเพิ่มปริมาตรน้ำนมได้เฉลี่ย 43.12 40.08 มิลลิลิตร
ปริมาตรน้ำนมในวันที่ 3 และปริมาตรรวมทั้งสามวันของกลุ่มยาปลูกไฟธาตุเท่ากับ 51.03 54.97 และ 56.18
59.59 มิลลิตร ตามลำดับ ส่วนของกลุ่มยาหลอกเท่ากับ 43.16 40.09 และ 50.78 46.64 มิลลิตร ตามลำดับ
แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.569 และ P = 0.725 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์จำนวนคนที่มี
ปริมาตรน้ำนมเพิ่มขึ้นโดยเทียบกับก่อนใช้ยา พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาปลูกไฟธาตุมีจำนวนคนที่มีปริมาตรน้ำนมเพิ่มขึ้น
110 มิลลิลิตร อยู่ 6 คน (ร้อยละ 25) มากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และไม่พบ
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
ข้อสรุป การใช้ยาปลูกไฟธาตุมีประสิทธิผลในการเพิ่มน้ำนมไม่แตกต่างจากยาหลอก แต่พบแนวโน้มว่าการให้
ยาปลูกไฟธาตุสามารถเพิ่มปริมาตรน้ำนมได้มากกว่ายาหลอก การใช้ยานี้มีความปลอดภัยเนื่องจากไม่พบอาการไม่พึง
ประสงค์จากการใช้ยา