Page 166 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 3
P. 166
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562
516 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Vol. 17 No. 3 September-December 2019
ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562
นิพนธ์ต้นฉบับ
การประเมินผลนโยบายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพรของสถานพยาบาล
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2560
ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย
สำ�นักง�นส�ธ�รณสุขจังหวัดสระบุรี กระทรวงส�ธ�รณสุข จังหวัดสระบุรี 18000
ผู้รับผิดชอบบทความ: pattaranan_p@hotmail.com
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ยาจากสมุนไพรของสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ในจังหวัดสระบุรี ปีงบประมาณ 2560 ปัจจัยที่ส่งเสริมและอุปสรรคต่อการสั่งใช้ยาจากสมุนไพร รวมทั้งผลการ
เปลี่ยนแปลงการสั่งใช้ยาจากสมุนไพรเป็นลำาดับแรก หลังจากมีนโยบายส่งเสริมการใช้สมุนไพร ซึ่งได้วิเคราะห์ข้อมูล
จากฐานข้อมูลการแพทย์และสุขภาพระดับจังหวัด ประเด็นมูลค่าการสั่งใช้ยาจากสมุนไพร, การวินิจฉัยโรค และใช้
แบบสอบถามเก็บข้อมูลปัจจัยที่ส่งเสริมและอุปสรรคต่อการสั่งใช้ยาจากสมุนไพร กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม
เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องการสั่งใช้ยา จำานวน 150 คน ประกอบด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน 2 คน เภสัชกร 18 คน นักวิชาการ
สาธารณสุข 20 คน พยาบาล 30 คน ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านเวชกรรมไทย 30 คน และเจ้าพนักงาน
สาธารณสุขชุมชน 50 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบยาจากสมุนไพร 3 คน เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการใช้ยา
จากสมุนไพร ผลการศึกษาพบว่า ในปีงบประมาณ 2560 สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดสระบุรี
มีการสั่งใช้ยาสมุนไพรรวมกันทั้งจังหวัด 11,447,794.47 บาท หรือร้อยละ 1.97 ของมูลค่าการสั่งใช้ยาทั้งหมด มีการ
สั่งใช้ยาสมุนไพรมากที่สุดในกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่จัดอยู่ในกลุ่ม
อาการ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ พบการสั่งใช้ยาจากสมุนไพรนอกเหนือจากกลุ่มอาการวินิจฉัย เช่น กรณีการ
สั่งใช้ยาจากสมุนไพร ยาอมมะแว้ง มูลค่าการสั่งใช้ยาจากสมุนไพรเพิ่มขึ้น มูลค่าการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะลดลง อุปสรรค
ต่อการสั่งใช้ยาจากสมุนไพรที่สำาคัญมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ (1) ผู้สั่งใช้ยาไม่มีข้อมูลเพียงพอ (2) ผู้สั่งใช้ยาไม่เชื่อ
มั่นในยาสมุนไพร (3) ผู้สั่งใช้ยาไม่รู้จักขนาดยา สรรพคุณยา ปัจจัยที่ส่งเสริมการสั่งใช้ยาจากสมุนไพร 3 อันดับแรก
คือ (1) การที่ผู้ป่วยเรียกหายา (2) สั่งใช้ยาเป็นไปตามนโยบาย (3) เป็นยาที่ได้รับการสนับสนุน พบมีการใช้ยาจาก
สมุนไพรเพิ่มขึ้นภายหลังนโยบายส่งเสริมการใช้ยาจากสมุนไพร ประเด็นการพัฒนาคือ การพัฒนาบุคลากรทางการ
แพทย์ทุกสาขาให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้ยาสมุนไพร ระบบสืบค้นข้อมูลยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพ
คำ�สำ�คัญ: ยาจากสมุนไพร, นโยบายส่งเสริมการใช้สมุนไพร, อุปสรรคการใช้สมุนไพร
Received date 28/08/19; Revised date 08/11/19; Accepted date 21/11/19
516