Page 76 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
P. 76

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                                                                       Vol. 17  No. 2  May-August 2019
                       ปีที่ 17  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2562
              214 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก     ปีที่ 17  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2562


                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



             การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลการเพิ่มสมาธิในเด็กสมาธิสั้นที่ฝึกฤๅษีดัดตน



             กมลพร อัจนารัศมี , สมคิด ปราบภัย
                            *
             สาขาวิชาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
             * ผู้รับผิดชอบบทความ:  kaymiyo@gmail.com









                                                  บทคัดย่อ

                    การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลของการเพิ่มสมาธิในเด็กสมาธิสั้นที่ฝึกฤๅษีดัดตน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผล
                ของการฝึกท่าฤๅษีดัดตน เพื่อเพิ่มสมาธิในเด็กสมาธิสั้น การวิจัยได้ดัดแปลงท่าฤๅษีดัดตนเพื่อให้เหมาะสมกับความ
                สามารถของผู้เข้าร่วมวิจัย มีความง่ายของท่ามากขึ้น และการตั้งชื่อท่าใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับท่าทางของฤๅษี
                ดัดตน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำา จำานวน 5 ท่า คือท่าอรุณเบิกฟ้า ดัดแปลงจากท่าแก้เกียจ ท่าสกุณาลู่ลม ดัดแปลงจาก
                ท่าแก้แน่นหน้าอก ท่าเทพพนมทรงกาย ดัดแปลงจากท่าดำารงกายอายุยืน ท่าสบายอุรา ดัดแปลงจากท่าแก้ปวดท้อง
                แก้สะบักจม ท่าราตรีสวัสดิ์ ดัดแปลงจากท่าแก้ลมในอก เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ดำาเนินการทดลองตามแบบแผน
                การวิจัยชนิดวัดผลก่อน-หลัง หนึ่งกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยจากกุมารแพทย์แล้วว่า
                เป็นโรคสมาธิสั้น จำานวน 4 คน ทำาการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการใช้โปรแกรม ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม
                ภาวะสมาธิสั้น และแบบบันทึกพฤติกรรมภาวะสมาธิสั้นขณะทำากิจกรรม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
                ครั้งละ 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์
                เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างจำานวนทั้งหมด 4 คน เป็นเพศชายทั้งหมด อายุระหว่าง
                7–8 ปี ได้รับการวินิจฉัยจากกุมารแพทย์เป็นโรคสมาธิสั้นเพียงอย่างเดียว 1 คน เป็นโรคออทิสติกและโรคสมาธิสั้น
                ร่วมด้วย 3 คน สามารถอ่านออก เขียนได้ ฟังคำาสั่งเข้าใจ หลังการใช้โปรแกรม กลุ่มทดลองมีภาวะสมาธิสั้นลดลง โดย
                ความไม่มีสมาธิ ความหุนหันพลันแล่นและการอยู่ไม่นิ่งของกลุ่มทดลองลดลง ซึ่งสอดคล้องกับความดันโลหิตและ
                อัตราการเต้นของหัวใจลดลงหลังเข้าร่วมกิจกรรม

                    คำ�สำ�คัญ :  โรคสมาธิสั้น, เด็กสมาธิสั้น, สมาธิ, ฤๅษีดัดตน














             Received date 22/01/19; Revised date 26/03/19; Accepted date 11/04/17

                                                     214
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81