Page 95 - วารสารปีที่17ฉบับที่1
P. 95

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 17  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2562        Vol. 17  No. 1  January-April 2019




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาพฤกษเคมีเบื้องต้นและฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ

            โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของสมุนไพรในเบญจผลธาตุ



                                                          †
                      *,‡
                                         †
            เจมส์ พึ่งผล , พลอยทราย โอฮาม่า , ธวัชชัย กมลธรรม , สรรใจ แสงวิเชียร †
            * หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10300
            † มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10300.
            ‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: jamesph@hotmail.com









                                                 บทคัดย่อ

                    การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อย และเป็นปัญหาที่สำาคัญในระบบสาธารณสุข
               ของประเทศไทย Escherichia coli และ Enterococcus faecalis เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบ
               ทางเดินปัสสาวะและมักพบการดื้อยาปฏิชีวนะในเชื้อเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาหรือ
               การติดเชื้ออาจรุนแรงถึงเสียชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤกษเคมีและฤทธิ์การต้านเชื้อแบคทีเรียที่
               เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในเบญจผลธาตุ ได้แก่ กกลังกา
               เต่าเกียด แห้วหมู หญ้าชันกาด และเปราะหอม โดยสกัดสมุนไพรด้วยวิธีต้มและนำาไปทำาให้แห้งด้วย freeze dry นำาผง
               แห้งของสารสกัดสมุนไพรแต่ละชนิดที่ได้ไป ทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อ 2 ชนิด คือ E. coli และ E. faecalis ด้วยวิธี mi-
               crodilution method ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากกกลังกาและเต่าเกียด สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. faecalis
               โดยได้ค่า MIC เท่ากับ 62.5 และ 100.0 mg/ml ตามลำาดับ และเมื่อทำาการทดสอบทางพฤกษเคมีพบว่า สมุนไพรทั้ง
               สองชนิด มีสารกลุ่มเทอร์พีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน และ แทนนิน ดังนั้นจึงควรศึกษาพฤกษเคมีของสมุนไพร
               นี้ในเชิงลึก เพื่อหาสารสำาคัญที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย เพื่อเป็นประโยชน์นำาไปพัฒนาเป็นยาได้ในอนาคต

                    คำ�สำ�คัญ :  เบญจผลธาตุ, กกลังกา, เต่าเกียด, E. faecalis

















            Received date 28/08/18; Revised date 17/01/19; Accepted date 07/02/19


                                                     85
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100