Page 64 - วารสารปีที่17ฉบับที่1
P. 64
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562 Vol. 17 No. 1 January-April 2019
นิพนธ์ต้นฉบับ
ฤทธิ์การยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในมนุษย์ของสารสกัดมะหาด
คคนางค์ รัตนานิคม , นิคม ศรีกะชา , ยุภาพร ขันนาเลา *
†
*,‡
* คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
† คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002
‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: khakhanang_r@yahoo.com
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดจากแก่นมะหาด ที่สกัดโดยวิธีการหมักสกัดด้วย
ตัวท�าละลายชนิดต่าง ๆ ต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่พบเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ อยู่บ่อยครั้งในมนุษย์
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดมะหาดที่สกัดด้วยเอทานอล 95% แสดงสมบัติในการยับยั้ง Aeromonas hy-
drophila TISTR 1321, Bacillus cereus TISTR 747, Bacillus licheniformis TISTR 1455, Escherichia coli TISTR
117, Staphylococcus aureus TISTR 746 และVibrio parahaemolyticus TISTR 1596 โดยมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางโซน
การยับยั้งเท่ากับ 19.89 ± 0.67, 18.27 ± 0.69, 14.92 ± 0.98, 17.06 ± 0.66, 14.84 ± 0.82 และ 19.00 ± 0.42 มิลลิเมตร
ตามล�าดับ แต่ไม่พบฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคของสารสกัดมะหาดเมื่อสกัดด้วยเฮกเซนและน�้ากลั่น เมื่อหาค่าความ
เข้มข้นต�่าสุดในการท�าลายเชื้อแบคทีเรีย (Minimum Bactericidal Concentration, MBC) ของสารสกัดมะหาดที่สกัด
ด้วยเอทานอล 95% จะมีค่าอยู่ในช่วง 3,125-25,000 ppm ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าตัวท�าละลายที่ใช้ใน
การสกัดมะหาดจะมีผลอย่างมากต่อฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ซึ่งสารสกัดมะหาดที่สกัด
ด้วยเอทานอล 95% จะมีสมบัติในการท�าลายเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบ แต่อาจมีประสิทธิผล
การยับยั้งแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิดของเชื้อแบคทีเรีย
คำ�สำ�คัญ : มะหาด, การยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย, แบคทีเรียก่อโรค, สารสกัดหยาบ
Received date 09/04/18; Revised date 12/10/18; Accepted date 07/02/19
54