Page 140 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 140

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 21  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2566      Vol. 21  No. 2  May-August  2023




                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           การเปรียบเทียบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบ

           และปริมาณฟีนอลิกของสารสกัดจากใบรางจืดสดและแห้ง



           ณัฐากาญจน์ จิตต์กระจ่าง , สุมาลี ปานทอง , สุพิชชา พลอยสมบุญ , สิรินารถ ชูศรีโฉม ,
                                *
                                                                                   †
                                              *,§
                                                                   †
           ณัฐศิมา งามขำา , ดวงพชรภรณ์ ขวัญเชียร , เรียวฟาง สีโยม ‡
                                             *
                        †
            สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
           *
            หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง อำาเภอคลองหลวง
           †
             จังหวัดปทุมธานี 12120
            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำาบลคลองหนึ่ง
           ‡
             อำาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
           § ผู้รับผิดชอบบทความ:  psumalee@tu.ac.th
                                                บทคัดย่อ
                   บทน�ำและวัตถุประสงค์:  สิวเป็นโรคผิวหนังที่พบอาการบวม แดง อักเสบ หรือติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย
              Cutibacterium acnes และ Staphylococcus aureus โดยทางการแพทย์แผนไทยนิยมใช้สมุนไพรในการรักษาโรค รางจืด
              (Thunbergia laurifolia Lindl.) มีสารส�าคัญกลุ่มฟีนอลิกเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้รักษาโรค
              ทางผิวหนัง แก้ไข้ แก้อักเสบ ปวด บวม สารสกัดจากใบรางจืดแห้งเคยมีรายงานเกี่ยวกับฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ
              C. acnes แต่ยังไม่มีการเปรียบเทียบฤทธิ์ของใบรางจืดสดและแห้งมาก่อน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
              ศึกษาฤทธิ์ของใบรางจืดในการต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว ฤทธิ์ต้านการอักเสบและปริมาณสารฟีนอลิก และ
              การเปรียบเทียบผลของใบรางจืดสดและแห้งและชนิดของตัวท�าละลายที่ใช้ในการสกัด
                   วิธีกำรศึกษำ:  การศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียใช้เทคนิค broth microdilution assay เพื่อหาค่าความเข้มข้น
              ต�่าสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย การวิเคราะห์หาปริมาณสารฟีนอลิกใช้เทคนิค Folin-Ciocalteu
              และการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบในเซลล์ RAW264.7 โดยการวัดปริมาณไนตริกออกไซด์
                   ผลกำรศึกษำ:  ผลการทดลองพบว่าสารสกัดใบรางจืดสดมีปริมาณสารฟีนอลิกสูงกว่าใบรางจืดแห้ง และสาร
              สกัดชั้นเอทานอลของใบรางจืดสดมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ C. acnes และ ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการหลั่งไนตริกออก
              ไซด์ได้ดีที่สุด ส่วนฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S. aureus มีเพียงสารสกัดจากใบรางจืดสดเท่านั้นที่มีฤทธิ์
                   อภิปรำยผล:  จากการทดลองครั้งนี้พบว่าใบรางจืดสดมีฤทธิ์ดีกว่าใบรางจืดแห้ง อีกทั้งสารสกัดที่ได้จากการ
              สกัดด้วยเอทานอลยังมีฤทธิ์ที่ดีกว่าสารสกัดที่ได้จากการต้มน�้า อุณหภูมิสูงอาจส่งผลให้สารส�าคัญในใบรางจืดสลาย
              ตัว ดังนั้นใบรางจืดแห้งและสารสกัดชั้นน�้ามีฤทธิ์ที่ต�่ากว่าใบรางจืดสดที่สกัดด้วยเอทานอล
                   ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ:  สรุปได้ว่าใบรางจืดสดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิวและฤทธิ์ต้านการ
              อักเสบได้ดีกว่าใบรางจืดแห้ง และวิธีการสกัดที่เหมาะสมคือการแช่สกัดในเอทานอล ดังนั้นใบรางจืดสดที่สกัดด้วย
              เอทานอลจึงเหมาะที่จะน�าไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์รักษาสิวต่อไปในอนาคต
                   ค�ำส�ำคัญ:  รางจืด, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย, สิว


           Received date 17/02/23; Revised date 26/03/23; Accepted date 08/08/23


                                                   356
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145