Page 104 - J Trad Med 21-1-2566
P. 104
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
Vol. 21 No. 1 January-April 2023
84 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566
นิพนธ์ต้นฉบับ
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทย
และสมุนไพร
ปรีชา หนูทิม , พรชัย สว่างวงค์ , อมรรัตน์ ราชเดิม , ปิยทัศน์ ใจเย็น
†
†
*,‡
†
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี 11000
*
โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรุงเทพมหานคร 10100
†
ผู้รับผิดชอบบทความ: preecha.nootim@gmail.com
‡
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนา และประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
ด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โดยใช้กรอบแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมร่วมกับกระบวนการวิจัยและ
พัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย 30 คน และผู้ดูแลหลัก 30 คน และทีมผู้ให้บริการ คือ แพทย์แผน
ไทย 24 คน และทีมสหวิชาชีพ 31 คน โดยทำาการศึกษาในโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยต้นแบบ 5 แห่ง เครื่องมือที่
ใช้ 1) เครื่องมือดำาเนินการพัฒนารูปแบบ และ 2) เครื่องมือประเมินผลลัพธ์ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา
โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86, 0.82,
0.85, 0.80 และ 0.79 ตามลำาดับ ดำาเนินการระหว่าง เดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์
ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์วิธีเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการ
ศึกษา พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร ประกอบด้วยองค์ประกอบ
หลัก 2 ส่วน คือ 1) การดูแลด้วยการแพทย์แผนไทยตามหลักธรรมานามัย ที่มุ่งเน้นการดูแลแบบองค์รวมทั้ง กายานา
มัย (ใช้สมุนไพรเป็นหลัก) จิตตานามัย และชีวิตานามัย และ 2) การทำางานแบบมีส่วนร่วมกับทีมสหวิชาชีพตั้งแต่ระยะ
แรกรับ ระยะดูแลต่อเนื่อง ระยะจำาหน่าย การวางแผนการติดตามเยี่ยมบ้าน ไปจนถึงระยะการเยี่ยมครอบครัวหลังผู้
ป่วยเสียชีวิต ผลการนำารูปแบบไปใช้ พบว่า การประเมินผู้ให้บริการถึงประสิทธิผลการนำารูปแบบที่ได้รับการพัฒนา
ขึ้นไปใช้มีระดับความเป็นไปได้ในภาพรวมระดับมาก และระดับความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพสูงกว่าก่อนใช้รูป
แบบอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้รับบริการ ประกอบด้วย 1) ผู้ป่วยต่อผลลัพธ์ พบว่า อาการต่าง ๆ
ของผู้ป่วยหลังจำาหน่ายออกจากโรงพยาบาลดีขึ้นกว่าก่อนเข้ารับการดูแลรักษา อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.001)
ด้านความพึงพอใจ พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อบริการของทีมสหวิชาชีพอยู่ใน
ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (S.D. = 0.46) และ 2) ผู้ดูแลหลักต่อระดับความพึงพอใจ พบว่า มีค่าคะแนน
เฉลี่ยความพึงพอใจต่อบริการของทีมสหวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 (S.D. = 0.38) ซึ่งจาก
การศึกษาสรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรช่วยให้การทำางาน
ของทีมง่ายขึ้น และสามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น จนส่งผลให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น
คำ�สำ�คัญ: รูปแบบการดูแล, มะเร็งระยะสุดท้าย, แพทย์แผนไทย, สมุนไพร
Received date 29/12/21; Revised date 15/12/22; Accepted date 30/01/23
84