Page 247 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 247
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
Vol. 19 No. 2 May-August 2021
ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
J Thai Trad Alt Med Vol. 19 No. 2 May-Aug 2021 477
นิพนธ์ต้นฉบับ
การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของไขมันสกัดจากเมล็ดโกโก้
และการใช้ประโยชน์ของไขมันโกโก้ทางยาและเครื่องสำาอาง
พาณี ศิริสะอาด , สุพร จารุมณี , ศิริวิภา ปิยะมงคล , สัณห์ ละอองศรี , เกียรติศักดิ์ พลสงคราม ‡
*
†
*
*,§
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำาบลสุเทพ อำาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
*
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำาบลหนองหาร อำาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
†
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ตำาบลหนองป่าครั่ง อำาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50000
‡
ผู้รับผิดชอบบทความ: pmpti008@gmail.com
§
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการใช้เนยโกโก้ที่ผลิตในประเทศ โดยสกัดจากเมล็ดโกโก้
ศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และนำามาพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำาอางและยา ประเมินผลผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้
ผลการศึกษาพบว่า โกโก้พันธุ์ลูกผสม I.M.1 มีขนาดของฝักกว้างเฉลี่ย 7.43 เซนติเมตร และมีความยาวเฉลี่ย 13.44
้
เซนติเมตร นำาหนักเฉลี่ยต่อฝัก 253.42 กรัม และมีจำานวนเมล็ดเฉลี่ยต่อฝัก 31.35 เมล็ด ให้เมล็ดที่สมบูรณ์ มีอัตราส่วน
้
้
นำาหนักเมล็ดโกโก้สดต่อนำาหนักเมล็ดโกโก้แห้งเท่ากับ 3:1 ในการสกัดไขมันจากเมล็ดโกโก้ ได้เนยโกโก้ 33% (โดย
้
นำาหนัก) เมื่อศึกษาองค์ประกอบโดยวิธีแก๊สโครมาโทกราฟีด้วยเครื่อง GC-FID พบว่ากรดไขมันที่พบมากที่สุดคือ กรด
®
สเตียริก (C18:0) ซึ่งมีปริมาณสูงถึง 37.47% และทำาให้เกิดลักษณะทางกายภาพหรือความแข็งของเนยโกโก้
โดยกรดไขมันที่มีความสำาคัญในด้านบำารุงผิวพรรณ ได้แก่ กรดโอเลอิก (35.22%) และ ไลโนเลอิก (2.78%) เนยโกโก้
มี 3 รูปผลึก คือ β (34.7˚C), β’ (27.8˚C) และ g (38˚C) โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูป β ซึ่งคงตัวมากกว่ารูปผลึกอื่น ณ อุณหภูมิ
ห้อง (28 ± 2˚C) ปริมาณพอลิฟีนอล ของเนยโกโก้ที่สกัดด้วยวิธีอัดเกลียว เท่ากับ 2.47 ± 0.04 (mg GAE/100g) ค่า IC
50
เท่ากับ 0.12 ± 0.01 (mg/mL) และค่า TEAC มีค่า 72.61 ± 5.00 (mM Trolox/100g) เนยโกโก้ที่สกัดได้พัฒนาเป็นยาพื้น
่
ยาเหน็บทวารแอสไพริน มีลักษณะผิวภายนอกที่ดี ผิวเรียบ ผ่าดูลักษณะภายใน ตัวยามีเนื้อกระจายสมำาเสมอดี การแตก
ตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือ ไม่เกิน 30 นาที การเตรียมครีมโกโก้ โดยใช้ตัวทำาอิมัลชัน ประเภทสบู่ สามารถเกิดครีม
เนื้อเบา มีความคงตัวดี ทางกายภาพ ตลอดระยะเวลาศึกษาใน 6 สภาวะ ในระยะเวลา 3 เดือนที่ศึกษา การใช้ประโยชน์
จากเนยโกโก้อาจต้องเติมสารต้านการหืนเนื่องจากเนยโกโก้ จะถูกออกซิไดส์ได้ง่าย และควรเก็บรักษาในที่เย็น ที่มืด
ข้อเสนอแนะ การวิจัยต่อไป ควรวิเคราะห์ความคุ้มทุน ศึกษาการขยายการผลิต เพื่อให้มีเพียงพอต่อการใช้ในอนาคต
โดยทดแทนเนยโกโก้ที่นำาเข้าจากต่างประเทศ
คำ�สำ�คัญ: เนยโกโก้, ไขมันโกโก้, เครื่องสำาอางจากโกโก้, เมล็ดโกโก้, การสกัดโกโก้
Received date 16/02/21; Revised date 27/04/21; Accepted date 16/08/21
477