Page 172 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 172

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 18  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม 2563   Vol. 18  No. 3  September-December 2020




                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานที่ช่วยรักษาอาการแพ้อักเสบของผิวหนัง

           จากแมลงสัตว์กัดต่อย



           อรมณี ประจวบจินดา ,อินทัช ศักดิ์ภักดีเจริญ, ผกากรอง ทองดียิ่ง, สุมาลี ปานทอง
                             *

           สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12120
            ผู้รับผิดชอบบทความ: immieon@tu.ac.th
           *










                                                บทคัดย่อ

                   การสัมผัสสิ่งที่ทำาให้ผิวหนังเกิดอาการแพ้ หรือแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น มด ยุง และแมงกะพรุนไฟ ทำาให้เกิด
              ปฏิกิริยาตอบสนองเฉพาะที่ เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อน ผื่น คัน หรือผิวหนังอักเสบ อาการดังกล่าวอาจแตกต่าง
              กันไปตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต ซึ่งการบรรเทาอาการเบื้องต้นสามารถใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุข
              มูลฐาน ได้แก่ เสลดพังพอนตัวผู้ เสลดพังพอนตัวเมีย ผักบุ้งทะเล ตำาลึง ขมิ้นชัน โดยสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด ส่วนใหญ่
              เป็นยารสเย็น ได้แก่ เสลดพังพอนตัวผู้-ตัวเมีย ผักบุ้งทะเล ตำาลึง ส่วนเหง้าขมิ้นชันมีรสฝาดหวานเอียน ตามทฤษฎี
              ทางการแพทย์แผนไทยใช้ช่วยลดธาตุไฟและลมกำาเริบจากอาการแพ้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อรวบรวมการ
              ใช้สมุนไพร และฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานที่ช่วยบรรเทาอาการแพ้ อักเสบจาก
              แมลงสัตว์กัดต่อย จากการทบทวนพบว่าสารสกัดชั้นเมทานอลของเสลดพังพอนตัวผู้ มีฤทธิ์ลดการอักเสบและบวม
              ของอุ้งเท้าหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำาการอักเสบและบวมด้วย carrageenan และ serotonin โดยยับยั้งการปลดปล่อย
              พรอสตาแกลนดิน E2 ส่วนสารสกัดของใบพญายอ มีฤทธิ์ลดการอักเสบโดยยับยั้งการหลั่งสารที่กระตุ้นการอักเสบ
              สารสกัดจากใบผักบุ้งทะเลชั้นปิโตรเลียมอีเทอร์พบว่ามีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน
              E2 ทั้งในหลอดทดลอดและหนูทดลอง ส่วนใบตำาลึงสด มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบและปวดในหนูทดลองเมื่อเทียบกับ
              ยาไอบูโพรเฟน ในขณะที่สารเคอร์คูมินในเหง้าขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดอาการคันที่เกิดจากฮีสตามีนในหนูทดลอง นอกจาก
              นั้นยังสามารถลดอาการปวดและอาการคันในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังได้อย่างมีนัยสำาคัญเมื่อเทียบกับยาหลอก จากการ
              ทบทวนวรรณกรรมนี้ สรุปได้ว่าสมุนไพรไทยในงานสาธารณสุขมูลฐานทั้ง 5 ชนิด สามารถใช้บรรเทาอาการเบื้อง
              ต้นที่เกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้

                   คำ�สำ�คัญ:  สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน, อาการแพ้ของผิวหนัง, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, ฤทธิ์ต้านการแพ้







           Received date 25/04/20; Revised date 25/08/20; Accepted date 29/10/20


                                                   604
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177