Page 163 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 3
P. 163
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2563 Vol. 18 No. 3 September-December 2020
นิพนธ์ต้นฉบับ
ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชน
ในจังหวัดพิษณุโลก
ปรีดาภรณ์ สายจันเกตุ , พิมพ์พร โนจันทร์, นิติรัตน์ มีกาย, รัศมี สุขนรินทร์
*
ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก 65130
ผู้รับผิดชอบบทความ: Nitirat@scphpl.ac.th
*
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชน
ในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มประชากรที่ใช้อายุระหว่าง 20-59 ปี คำานวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรได้จำานวน 400 คน ทำาการ
สุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความรู้ ทำาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาค่าร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้โดยรวมอยู่ระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ย x = 19.02 (S.D.
= 0.46) ด้านความรู้ทางพฤกษศาสตร์ของกัญชาระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ย x = 4.33 (S.D. = 0.43) ด้านการใช้
กัญชาในทางการแพทย์ระดับปานกลางคะแนนเฉลี่ย x = 5.55 (S.D. = 0.46) ด้านผลข้างเคียงจากการใช้กัญชาระดับ
ปานกลางคะแนนเฉลี่ย x = 4.82 (S.D. = 0.47) และด้านความรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับกัญชาระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย x = 4.32 (S.D. = 0.47) ด้านทัศนคติต่อการใช้กัญชาในการรักษาโรคโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง x =
2.95 (S.D. = 0.37) ข้อที่มีทัศนคติอยู่ระดับสูงสุด 3 ลำาดับแรกคือควรมีการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกัญชาให้กับกลุ่ม
ตัวอย่าง x = 4.33 (S.D. = 0.89) รองลงมาคือปัจจุบันสื่อโฆษณาเรื่องกัญชายังมีความคลาดเคลื่อนทำาให้ประชาชนได้
รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมี x = 3.94 (S.D. = 0.92 )และกัญชาสามารถรักษาโรคได้มี x = 3.92 (S.D. = 0.91) ตามลำาดับ
จากผลการวิจัยความรู้เกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ยังอยู่ในระดับที่ต้องได้รับการให้ข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องและ
ทำาความเข้าใจด้านทัศนคติสำาหรับการใช้กัญชาทางการแพทย์และยังเป็นข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขในการ
ให้ความรู้เรื่องกัญชาทางการแพทย์
คำ�สำ�คัญ: ความรู้, ทัศนคติ, กัญชาในการรักษาโรค, วัยแรงงาน
Received date 28/02/20; Revised date 10/07/20; Accepted date 30/10/20
595