Page 198 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 198

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                     ปีที่ 18  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2563       Vol. 18  No. 2  May-August 2020




                                                                                   บทปริทัศน์



           การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์การบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

           ด้านการแพทย์แผนไทย ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า



           นภชา สิงห์วีรธรรม , อำาพล บุญเพียร , ภัทร วาศนา , ธวัชชัย เหล็กดี , กิตติพร เนาว์สุวรรณ
                                                                    †,§
                           *
                                          *
                                                      †
                                                                                        ‡
            ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี 11150
           *
            กองคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้านไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จังหวัดนนทบุรี 11000
           †
            กลุ่มงานวิจัยและผลงานวิชาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสงขลา 90000
           ‡
            ผู้รับผิดชอบบทความ: doctor.aoteza@gmail.com
           §







                                                บทคัดย่อ

                   บริการการแพทย์แผนไทยด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ให้บริการในสถานบริการของกระทรวง
              สาธารณสุข และควรได้รับสิทธิประโยชน์บริการการแพทย์แผนไทยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้
              เกิดความครอบคลุม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานต้นทุนต่อกิจกรรมการบริการการแพทย์แผนไทย ด้าน
              ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รวบรวมประสิทธิผลของการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยที่ควรจะให้บริการ
              และให้ข้อเสนอแนะการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ พบว่าปัจจัยสำาคัญที่ทำาให้กิจกรรมการบริการการแพทย์แผนไทย
              มีต้นทุนที่กระจายจำานวนผู้รับบริการในแต่ละกิจกรรม และรูปแบบการให้บริการ ประสิทธิผลของกิจกรรมการ
              แพทย์แผนไทยยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ เนื่องจากรูปแบบของการศึกษา จำานวนกลุ่มตัวอย่าง และปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้
              ไม่สามารถยืนยันประสิทธิผลที่เหมาะจะนำามาประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ดังนั้นควรมีการจัดทำารายการ
              หรือกิจกรรมบริการการแพทย์แผนไทยตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นประชากรกลุ่มไหนและ
              มีแนวทางในการให้บริการอย่างไร รวมถึงการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

                   คำ�สำ�คัญ:  บริการการแพทย์แผนไทย, การส่งเสริมสุขภาพ, การป้องกันโรค, ชุดสิทธิประโยชน์













           Received date 27/02/20; Revised date 13/06/20; Accepted date 06/08/20


                                                   420
   193   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203