Page 184 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 184
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
Vol. 18 No. 2 May-August 2020
406 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
นิพนธ์ต้นฉบับ
สถานการณ์ ศักยภาพ และแนวทางในการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อเศรษฐกิจ
ฐานราก: กรณีศึกษาสมุนไพรไทยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำานครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
สันติ ศรีสวนแตง , ประสงค์ ตันพิชัย , ทิพวัลย์ สีจันทร์ †
*,‡
*
ภาควิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำาแพงแสน
*
จังหวัดนครปฐม 73140
ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร กำาแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำาแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140
†
‡ ผู้รับผิดชอบบทความ: satsts@ku.ac.th
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ศักยภาพ และแนวทางในการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อเศรษฐกิจ
้
ฐานราก กรณีศึกษาสมุนไพรไทย พื้นที่ลุ่มแม่นำานครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้มีส่วนได้เสียในโซ่
อุปทานสมุนไพร ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มนักวิชาชีพสุขภาพ กลุ่มผู้ปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มผู้ประกอบ
การ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงด้วยวิธีการบอกต่อ เก็บรวบรวมข้อมูลหลากหลายวิธีด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ และ
การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลแบบผสานข้อมูลจากหลายแหล่ง หลายวิธีด้วยการวิเคราะห์เอกสาร และการวิเคราะห์
เนื้อหา นำาเสนอข้อมูลโดยการพรรณนาประกอบคำาบอกเล่า และหลักฐานเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบสถานการณ์
การพัฒนาด้านสมุนไพรไทย มีการใช้ยาสมุนไพรไทยมาก 5 อันดับแรก ได้แก่ ยาขมิ้นชัน ยาฟ้าทะลายโจร ยาประสะ
้
มะแว้ง ยาพญายอ และยาผสมเพชรสังฆาต ตามลำาดับ ชุมชนบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่นำานครชัยศรีมีเครือข่ายการจัดการ
สุขภาพชุมชน 5 กลุ่ม ได้แก่ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทย วิชาชีพสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาควิชาการ
และภาคธุรกิจ การค้นพบพลังชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากดังนี้ 1) ชุมชนมีองค์ความรู้ และประสบการณ์
ด้านสมุนไพรไทยที่สะสม ถ่ายทอด ปรับใช้มานาน 2) วิสาหกิจชุมชนด้านสมุนไพรในชุมชนมีความเข้มแข็ง และ 3)
ภาคีเครือข่ายการพัฒนาในโซ่อุปทานสมุนไพรไทยมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี จากการอภิปรายกลุ่มภาคีเครือข่าย
การจัดการสุขภาพชุมชนได้ร่วมกันเสนอแนวทางในการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากไว้ 3 แนวทาง
ได้แก่ 1) การพัฒนาความตระหนักในการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างองค์รวมทุกระดับ ตั้งแต่ครอบครัว องค์กร และ
ชุมชน 2) การพัฒนาต้นแบบการจัดการสุขภาพชุมชนอย่างองค์รวม เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ถ่ายทอด และการเรียน
รู้ของชุมชนและ 3) การส่งเสริมวิสาหกิจสุขภาพชุมชนผลิตสมุนไพรอย่างครบวงจร
คำ�สำ�คัญ: เศรษฐกิจฐานราก, การจัดการสุขภาพชุมชน, สมุนไพร
Received date 26/02/20; Revised date 05/08/20; Accepted date 22/08/20
406