Page 60 - journal-14-proceeding
P. 60
บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14
OP60G0014 ผลของการนวดไทยตอความแข็งเกร็งในเด็กสมองพิการอายุ 2-6 ป
1
2
3
1
2
ชนานาถ เนรัญชร , วิฑูรย โลสุนทร , อานนท วรยิ่งยง , มณฑกา ธีรชัยสกุล , กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ , ณัฐรีน ไชยวังราช
3
1 , ภัทรวรรณ รังรงทอง , วราภรณ คํารศ ,จิตติศักดิ์ พูนศรีสวัสดิ์
1
2
1 สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร จ.เชียงใหม
2
ภาควิชาเวชศาสตรปองกันและสังคม คณะแพทยศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
3 สถาบันวิจัยการแพทยแผนไทย กรมพัฒนาการแพทยแผนไทยและการแพทยทางเลือก
หลักการและเหตุผล สมองพิการเปนความผิดปกติของการพัฒนาระบบประสาทซึ่งเกิดขึ้นในชวงวัยเด็ก
ตอนตนและยังคงมีตอไปตลอดชีวิต ซึ่งอาการแข็งเกร็งเปนอาการรวมที่พบบอยที่สุดของเด็กสมองพิการ คิด
เปนรอยละ 50- 75 ของทั้งหมด สาเหตุเกิดจากสมองสวน Motor Cortex ถูกทําลาย ทําใหกลามเนื้อแข็งเกร็ง
เคลื่อนไหวยาก ปจจุบันมีงานวิจัยที่แสดงใหเห็นวาการนวดไทยสามารถลดความแข็งเกร็งของกลามเนื้อและทํา
ใหกลามเนื้อผอนคลายได ทวายังไมมีการศึกษาวิจัยในกลุมเด็กสมองพิการ
วัตถุประสงค เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยตอความแข็งเกร็งในเด็กสมองพิการ อายุ 2-6 ป
วิธีดําเนินการ เปนการศึกษาเชิงทดลองแบบสุมมีกลุมควบคุมและปกปดผูประเมิน (Single blind
randomized controlled trial) กลุมตัวอยางที่ใชในการเขารวมงานวิจัยเปนเด็กสมองพิการ จํานวน 46 ราย
(อายุระหวาง 2 ถึง 6 ป) โดยแบงเปน 2 กลุมดวยวิธีการสุมอยางงาย คือกลุมทดลองจํานวน 22 ราย และ
กลุมควบคุมจํานวน 24 ราย ประเมินระดับความแข็งเกร็งดวย Modified Ashworth Scale (MAS) กอนและ
หลังการทดลองทันที โดยกลุมทดลองไดรับการรักษาตามมาตรฐานรวมกับการนวดไทยแบบราชสํานักจํานวน
15 ทา เปนเวลา 30 นาที และกลุมควบคุมไดรับการรักษามาตรฐานรวมกับการนอนพักเปนระยะเวลา 30
นาที วิเคราะหทางสถิติดวยคาความถี่ รอยละ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร และ Fisher’s
exact Tests
ผลการศึกษา กลุมทดลองและกลุมควบคุมมีลักษณะพื้นฐานอาทิ เพศ อายุ ระดับความรุนแรงของ
ความสามารถดานการเคลื่อนไหว และระดับความแข็งเกร็งไมแตกตางกัน ภายหลังการทดลองระดับความแข็ง
เกร็งของกลามเนื้อ Hip Abductor, Quadriceps และ Soleus เปรียบเทียบระหวางกลุมทดลองและกลุม
ควบคุม ลดลงแตกตางกันอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (P =<0.05) ทวาการลดลงของระดับความแข็งเกร็ง
กลามเนื้อ Hamstring เปรียบเทียบระหวางกลุมทดลองและกลุมควบคุมไมมีความแตกตางกัน
ขอสรุป การนวดไทยแบบราชสํานักจํานวน 15 ทา สามารถลดความแข็งเกร็งของกลามเนื้อในผูปวยเด็กสมอง
พิการอายุระหวาง 2 ถึง 6 ปได โดยกลามเนื้อที่สามารถลดความแข็งเกร็งไดชัดเจนคือ Hip Abduction,
Quadriceps และ Soleus ดังนั้นการวิจัยครั้งตอไปควรเพิ่มขนาดประชากรและเพิ่มเวลาการเก็บขอมูลใหมี
การนวดไทยตอเนื่องกันเปนระยะเวลานานขึ้น ทั้งนี้เพื่อยืนยันประโยชนที่แทจริงของการนวดไทยในเด็กสมอง
พิการและการนําไปใชประโยชนอยางครอบคลุม
58