Page 55 - journal-14-proceeding
P. 55

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                       OPem20C นวัตกรรมไมพายคลายเสน



               อทิกานต พิมพหลอ, จิรัชญาอุไรวงค, นันทนภัส วงคแสนไชย
               โรงพยาบาลวังยาง อําเภอวังยาง จังหวัดนครพนม

               หลักการและเหตุผล  การใหบริการแพทยแผนไทยในโรงพยาบาลวังยางในปจจุบัน เปดใหบริการในสถานบริการและนอก
               สถานบริการ  ในปงบประมาณ 2559  จากขอมูลจํานวนผูรับบริการผูปวยนอกทั้งหมด 4,714  ครั้ง พบวามีการใหบริการ
               แพทยแผนไทย นวด อบ ประคบ รวม 396   คน 424  ครั้ง คิดเปนรอยละ 8.99   ซึ่งถือวายังใหบริการไดนอย (ตัวชี้วัดจาก
               สวนกลาง รอยละ 18.5) ซึ่งการใหบริการสวนใหญเปนการใหบริการในสถานบริการ จากการเก็บรวบรวมขอมูลการออก

               ใหบริการเชิงรุก พบวายังมีผูปวยอีกจํานวน 350 ราย ที่มีอาการปวดกลามเนื้อขาแตไมสามารถเขารับบริการแพทยแผนไทย
               ที่โรงพยาบาลได งานแพทยแผนไทยรวมกับงานบริการปฐมภูมิและองครวม ไดพัฒนารูปแบบการดูแลรักษา บรรเทาอาการ
               ปวดกลามเนื้อขาโดยการประยุกตใชนวัตกรรมไมพายคลายเสนเพื่อแกไขปญหาที่กลาวมาขางตน ซึ่งเปนนวัตกรรมที่ไดรับ
               การพัฒนามาจากภูมิปญญาพื้นบานเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ผูปวยที่ไมสามารถเขารับบริการที่โรงพยาบาลสามารถใช

               นวัตกรรมเพื่อบรรเทาอาการปวดกลามเนื้อขาไดดวยตนเอง ขั้นตอนการใชนวัตกรรมไมพายคลายเสน ประกอบดวย 4 ทา คือ
               1) ทาคีมลอค 2) ทากดลดตึงเขา 3) ทายืดเอ็นรอยหวาย 4) ทายืดหลัง

               วัตถุประสงค  เพื่อพัฒนานวัตกรรมไมพายคลายเสนลดอาการปวดกลามเนื้อ และเพื่อใหประชาชนสามารถนวดขาดวยตนเอง

               โดยใชนวัตกรรมไมพายคลายเสน

               วิธีดําเนินการ  การศึกษาในครั้งนี้เปนการศึกษานํารองเพื่อทดลองใชนวัตกรรม กลุมตัวอยางเลือกสุมอยางงาย (Simple
               Sampling)  กลุมเปาหมายจํานวน 50  ราย เกณฑการคัดเขาคือผูปวย ที่มีอาการปวดกลามเนื้อขา ระหวางวันที่ 1ตุลาคม
               2559 - 30 มิถุนายน 2560 วัดผลจากการเก็บรวบรวมขอมูลระดับความรุนแรงของอาการปวดกลามเนื้อกอน และหลังการใช

               นวัตกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจที่เปนมาตรฐาน วิเคราะหขอมูลดวยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติรอยละ

               ผลการศึกษา  พบวา ภายหลังกลุมตัวอยางใชนวัตกรรมไมพายคลายเสนเพื่อบรรเทาอาการปวดกลาม เนื้อขาพบวาผูปวยมี
               การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น กลุมเปาหมายที่มีอาการปวดในระดับ 5 คือ ปวดระดับปานกลาง จํานวน 42 ราย คิดเปนรอยละ 84

               อาการปวดระดับ 6-7 ปวดมากพอสมควร จํานวน 8 ราย คิดเปนรอยละ 16 และหลังการใชนวัตกรรมไมพายคลายเสนเพื่อลด
               อาการปวดกลามเนื้อขา แลวพบวาผูปวยมีอาการปวดลดลงอยูในระดับ 0-1 ระดับที่ยอมรับได จํานวน 45 ราย คิดเปนรอย
               ละ 90 และอยูในระดับ 4 คือ มีอาการปวดเล็กนอยพอทนได จํานวน 5 ราย คิดเปนรอยละ 10 และจากการประเมินความพึง

               พอใจของผูปวยที่ใชนวัตกรรมไมพายคลายเสนเพื่อบรรเทาอาการปวดกลามเนื้อขา พบวา มีความพึงพอใจมากที่สุดรอยละ
               100   ในดานดังตอไปนี้ คือ  ขั้นตอนในการใชบริการนวัตกรรม  ระยะเวลาในการรับบริการความเสมอภาคในการใหบริการ
               และอาการไมพึงประสงคหลังการใชนวัตกรรม เชน บวม ฟกช้ํา  พึงพอใจรอยละ  98  ในดานความสะดวกรวดเร็วของการ
               ใหบริการ และพึงพอใจรอยละ 60 ในดาน รูปแบบ/ขนาด ของตัวนวัตกรรม และใหความคิดเห็นเพิ่มเติมวา เปนนวัตกรรมที่
               ดีสามารถใชนวัตกรรมเพื่อบําบัดบรรเทาอาการปวดกลามเนื้อขาไดดวยตนเอง และทําไวใชเองในครอบครัวไดมีตนทุนในการ

               ผลิตเพียง 40 บาท ผูปวยที่ไมสามารถมารับบริการที่สถานบริการก็สามารถใชนวัตกรรม เพื่อบําบัดรักษาอาการปวดที่บาน
               ดวยตนเอง เพื่อเปนการสงเสริมภูมิปญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพและทําใหมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ควรมีการสงเสริมให
               มีการดําเนินงานการประยุกตใชนวัตกรรมไมพายคลายเสนอยางตอเนื่องและขยายโอกาสสูพื้นที่บริการใกลเคียง และควร

               สงเสริมใหมีการดําเนินการศึกษาเพิ่มเติมในกลุมตัวอยางที่มีขนาดเพิ่มขึ้น เพื่อใหสามารถประเมินผลไดอยางถูกตองแมนยํา
               และมีประสิทธิภาพ และสามารถพัฒนารูปแบบนวัตกรรมใหใชใหเกิดประโยชนตอผูปวยอยางยั่งยืนตอไป


                                                         53
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60