Page 64 - FATDISIAESE
P. 64

สมุนไพรพื้นบ้าน ลดไขมันในเลือด
                                           ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
                 ผลบุก หลังจากดอกผสมพันธุ์ก็จะเกิดผล ผลอ่อนของบุกมี
          สีขาวอมเหลือง พออายุได้ 1-2 เดือน จะมีผลสีเขียวเข้ม มีจุดดำที่

          ปลายคล้ายผลกล้วย ผลของบุกส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายๆ กัน
          แต่เมล็ดภายในแตกต่างกัน พบว่าบุกบางชนิดมีเมล็ดในกลม

          แต่ส่วนมากมีเมล็ดเป็นรูปทรงอูมยาว ผลแก่ของบุกจะมีสีแดงหรือ
          แดงส้ม บุกคางคกมีจำนวนผลนับได้เป็นพันๆ ในขณะที่บุกต้นเล็ก
          ชนิดอื่นมีจำนวนผลนับร้อยเท่านั้น

                 หัวบุก ต้นใต้ดินหรือหัวบุกเป็นที่สะสมอาหารมีลักษณะ
          เป็นหัวขนาดใหญ่ มีรูปร่างพิเศษหลายแบบแตกต่างกันอย่าง

          เด่นชัด นอกจากนี้ผิวของเปลือกก็มีลักษณะสีแตกต่างกันมากด้วย

          สรรพคุณทางยา
                 คนไทยรู้จักต้นบุก ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า “กะบุก” ใช้เป็นอาหารกันมาช้านานแล้ว โดยใช้ต้น
          ใบ และหัวบุกมาทำขนม เช่น ขนมบุก แกงบวชมันบุก แกงอีสาน แกงลาว ซึ่งการนำบุกมาทำอาหาร

          จะแตกต่างกันในแต่ละภาค เช่น ภาคตะวันออกแถบจันทบุรีผู้คนมักฝานหัวบุกเป็นแผ่นบางๆ แล้วนำ
          มานึ่งรับประทานกับข้าว ชาวเขาทางภาคเหนือมักนำมาปิ้งก่อนรับประทาน ภาคกลางมักนำหัวบุกที่

          ฝานเป็นชิ้นบางๆ มาแช่น้ำปูน แช่น้ำก่อนล้างหลายๆ ครั้งแล้วจึงนำไปทำเป็นอาหารหวาน นอกจาก
          จะนำไปปรุงอาหารพื้นบ้านตามที่กล่าวแล้ว พืชชนิดนี้ยังเป็นที่ทราบกันดีว่ามีประโยชน์ มีคุณค่าทั้งใน
          ด้านสมุนไพร และอาจพัฒนาด้านอุตสาหกรรมอาหารได้ ความเข้าใจเรื่องประโยชน์ของบุกนี้มีอยู่ใน

          เรื่องของสมุนไพรสมัยใหม่แล้ว โดยเฉพาะประเทศที่เจริญทางด้านอุตสาหกรรมอย่างประเทศญี่ปุ่น
          มีการนำแป้งจากหัวบุกมาทำวุ้นกันอย่างแพร่หลาย ส่วนที่เป็นประโยชน์ของบุกคือส่วนหัวนั่นเอง

          โดยหัวบุกมีแป้งที่เรียกว่า “แมนแนน” (Mannan) สำหรับผู้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และใช้ทำ
          อาหารจำพวกวุ้นเส้น วุ้นแท่งหรือวุ้นอื่นๆ เป็นอาหารที่ปรุงรสได้ดี รสชาติคล้ายปลาหมึก แป้งบุกมี

                                                  63
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69