Page 63 - FATDISIAESE
P. 63
สมุนไพรพื้นบ้าน ลดไขมันในเลือด
ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
บุก
ส่วนที่ใช้ หัวและก้านใบ
ลักษณะรูปร่าง
เป็นพืชล้มลุก หัวบุกมีขนาดเล็กหรือใหญ่ตามอายุ ลักษณะกลม
แบน บางชนิดมีเปลือกสีขาวเหลือง บางชนิดมีผิวขรุขระ
ใบบุก ใบบุกโผล่เดี่ยวขึ้นมาจากหัวบุก ลักษณะคล้ายใบมะละกอ
มีสีเขียวเข้ม บางชนิดมีก้านใย เป็นลวดลาย ทั้งลายเส้นตรง ลายกระสลับสี ลายด่างสลับสี บางชนิด
สีเขียวล้วน น้ำตาลล้วน บางชนิดมีหนามอ่อนๆ เช่น บุกที่ชาวบ้านเรียกว่า บุกคางคก ก้านใบจะมี
หนาม ทั้งชนิดก้านสีเขียว เรียบและชนิดก้านเป็นลวดลายคล้ายคางคก บุกบางชนิด มีใบกว้าง และมี
จุดแบบไข่ปลาสีขาวด้านบน เป็นบุกชนิดที่มีหัวเล็กที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับบุกชนิดอื่นๆ ลักษณะเด่น
ทั่วๆ ไป ใบมีก้านตรงจากกลาง หัวโผล่จากดินแล้วแผ่กางออก 3 ทาง มีรูปทรงแผ่กว้างแบบร่ม แต่
บางพันธุ์จะมีใบ 3 ทาง ที่กางกลับขึ้นด้านบนเหมือนหงายร่ม บางชนิดมีใบกว้าง กางออกเป็นวงแคบ
และลู่ลงต่ำ ดังนั้นลักษณะทางพฤษกศาสตร์ของใบบุก มีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของบุก
ดอกบุก บุกมีดอกคล้ายต้นหน้าวัว แต่ละชนิดมีขนาด สี และรูปทรงต่างกัน บางชนิดมีดอก
ใหญ่มาก โดยเฉพาะบุกคางคก ดอกบุกมีกลิ่นเหม็นเหมือนเนื้อสัตว์เน่า บุกชนิดอื่นๆ มีดอกเล็กก้าน
ดอกจะโผล่ขึ้นตรงจากกลางหัวบุก เช่นเดียวกับก้านใบ บุกมักจะมีดอกในช่วงปลายฤดูแล้ง แต่บุก
สามารถออกดอกได้ในช่วงเวลาต่างๆ กัน ระยะเวลาในการแก่เต็มที่ของดอกที่จะติดผลก็ต่างกัน จึง
ต้องติดตามศึกษาการเกิดดอกและการติดผลของบุกแต่ละชนิดไป
62