Page 38 - FATDISIAESE
P. 38
สมุนไพรพื้นบ้าน ลดไขมันในเลือด
ตามภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
ข่า
ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่สดหรือแห้ง เหง้าอ่อน ราก
ก้านใบรวม
สรรพคุณทางยา
เหง้าอ่อน มีรสเผ็ด สรรพคุณขับลมในลำไส้ แก้ปวดมวนท้อง
เหง้าแก่ มีรสเผ็ดและรสร้อน สรรพคุณขับลม แก้ฟกช้ำบวม แก้พิษ ขับโลหิตเสีย
ในมดลูก ถ้าหญิงคลอดลูกใหม่มีเลือดเสียให้ใช้หัวข่าสดมาบดผสมน้ำมะขามเปียกและเกลือแกง บีบ
คั้นเอาแต่น้ำประมาณถ้วยแกง ให้ดื่มจนหมดจะสามารถขับเลือดเสียออกจนหมดและช่วยทำให้มดลูก
เข้าอู่เร็วยิ่งขึ้น ขับลมในลำไส้ รักษาโรคกลากเกลื้อน ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้เหง้า บดเป็นผงละลายน้ำ
หรือต้มน้ำดื่ม เพื่อช่วยขับลม
ราก แก้เสมหะ แก้เหน็บชา แก้เลือดเสีย ขับลม บำรุงโลหิต
ก้านใบรวม ขับเลือด ขับน้ำเหลือง แก้ท้องขึ้นท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด บำรุงธาตุ
ยาพื้นบ้านล้านนาใช้เหง้าผสม ใบมะกา เถาเชือก เขาหนัง หัวยาข้าวเย็นและเกลือ ต้มน้ำดื่ม
เป็นยาถ่าย เหง้าอ่อนผสมทั้งต้น หัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงลำไส้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้เหง้าแก่สดหนัก 5 กรัม (เท่าหัวแม่มือ) ถ้าเหง้าแห้ง
2 กรัม ทุบให้แตกเอาต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร จนกว่าอาการท้องอืดท้องเฟ้อจะหาย
โรคผิวหนังกลากเกลื้อน เหง้าข่าแก่ตำ หรือทุบให้แหลกแช่ในเหล้าโรง 1 คืน ใช้น้ำยาทาบริเวณ
ที่เป็น โดยก่อนทาให้ใช้ไม้ไผ่บางๆ ที่ได้ฆ่าเชื้อแล้ว ขูดบริเวณที่เป็นให้ผิวหนังเป็นสีแดง ทาบ่อยๆ
วันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย
37