Page 217 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 217

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 21  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2566      Vol. 21  No. 2  May-August  2023




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การจัดบริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์และการสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชา

            ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดน่าน



            วาลิกา รัตนจันทร์ , กัญญารัช วงศ์ภูคา , นวลชนก วงค์สัมพันธ์ ‡
                                             †
                           *,¶
             กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลน่าน ตำาบลในเวียง อำาเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000
            *
            † 54/7-8 ถนนวรวิชัย ตำาบลในเวียง อำาเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000
            ‡ สำานักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ตำาบลผาสิงห์ อำาเภอเมือง จังหวัดน่าน 55000
            ¶ ผู้รับผิดชอบบทความ:  valeel@yahoo.com





                                                 บทคัดย่อ

                    บทน�ำและวัตถุประสงค์:  การใช้ประโยชน์จากสารสกัดกัญชาทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ส�าหรับ
               ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์และสนับสนุน
               ให้ประชาชนเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มหน่วยบริการและส่งเสริมให้สถานพยาบาลของรัฐจัดตั้งคลินิก
               กัญชาทางการแพทย์ อย่างไรก็ตาม การเปิดให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐปัจจุบันยัง
               ไม่สามารถจัดตั้งได้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยอาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงท�าการศึกษาโดย
               มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการคลินิกและการสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ จังหวัด
               น่าน และหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดตั้งคลินิก
                    วิธีกำรศึกษำ:  การศึกษาเป็นเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เจาะจงคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรทางการ
               แพทย์ที่รับผิดชอบในโรงพยาบาลจ�านวน 15 แห่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม
               2564 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2565 ใช้สถิติ Pearson Correlation และ Fisher’s Exact test
                    ผลกำรศึกษำ:  กลุ่มตัวอย่าง 80 ราย พบว่าร้อยละ 73.8 มีความพร้อมจัดตั้งคลินิกกัญชาและมีทัศนคติต่อการ
               จัดบริการอยู่ในระดับสูงร้อยละ 77.5 ทั้งนี้ การจัดตั้งคลินิกในโรงพยาบาลทั่วไปครบ 1 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน 11
               แห่ง (ร้อยละ78.5) โดยพบว่าร้อยละ 23.8 จัดตั้งแล้วแต่ไม่ได้สั่งจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชา เนื่องจากศักยภาพและทรัพยากร
               โดยเฉพาะบุคลากรทั้งอัตราก�าลังและสมรรถนะ ปัจจัยความสัมพันธ์พบว่า อายุ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานมีความ
               สัมพันธ์กับทัศนคติอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระดับทัศนคติต่อการจัดบริการคลินิกกัญชาโดยรวม (p <
               0.05) และทัศนคติด้านแผนพัฒนาระบบสุขภาพสาขากัญชาทางการแพทย์ มีความสัมพันธ์กับการจัดตั้งคลินิกกัญชา
               (p < 0.01) ระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแพทย์อยู่ในระดับปานกลางไม่สัมพันธ์กับการสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์กัญชา
                    อภิปรำยผล:  จากข้อค้นพบดังกล่าว โรงพยาบาลขนาดใหญ่ระดับแม่ข่ายมีความพร้อมในการจัดตั้งและพร้อม
               ให้บริการคลินิกกัญชาได้มากกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็กเนื่องจากข้อจ�ากัดทรัพยากร โดยเฉพาะบุคลากร แม้ว่ากลุ่ม
               ตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 95.0 จะรับทราบนโยบายเป้าหมายการจัดตั้งให้บริการคลินิกกัญชาทางการแพทย์และรับ
               ทราบกระแสการตื่นตัวของสังคมต่อเรื่องการรักษาโรคด้วยกัญชามีสูง นอกจากนี้การที่แพทย์มีความรู้เรื่องการใช้



            Received date 13/07/22; Revised date 06/07/23; Accepted date 04/08/23


                                                    433
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222