Page 172 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 18 ฉบับที่ 2
P. 172

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                                                                     Vol. 18  No. 2  May-August 2020
                     ปีที่ 18  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
            394 วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก      ปีที่ 18  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม 2563


                                                                                นิพนธ์ต้นฉบับ



           การศึกษาเปรียบเทียบผลของการรับประทานสารสกัดขมิ้นชันกับน้ำามันปลา

           ต่อภาวะโภชนาการและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็ง อำาเภอโนนคูณ

           จังหวัดศรีสะเกษ



           เพลิน สูงโคตร , พรรณี วรธรรม, สารภี นนท์ตา, ฉันทนา กำาจัดศัตรูพ่าย,
                       *
           เพลินพิศ บุญชาลี, โศจิรัตน์ วรรณทวี, วีระชาติ วรธรรม, ศศิกาญจน์ สุขแก้ว
           โรงพยาบาลโนนคูณ  อำาเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ 33250
           * ผู้รับผิดชอบบทความ: ploensong25090@gmail.com


                                                บทคัดย่อ

                   มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศ ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเกิดจากการแพร่กระจาย
              ของมะเร็งไปยังอวัยวะส�าคัญ พยาธิสภาพส�าคัญของโรคมะเร็งคือภาวะโภชนาการโดยประเมินจากการลดลงของน�้า
              หนักตัวเป็นสิ่งที่บอกถึงความก้าวหน้าของโรค วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการรับประทานสารสกัดขมิ้น
              ชันกับน�้ามันปลาต่อภาวะโภชนาการและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง วิธีด�ำเนินกำร รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบ
              สุ่ม ในผู้เข้าร่วมวิจัย 42 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่ากัน กลุ่มที่ 1 ได้รับสารสกัดขมิ้นชัน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน กลุ่มที่ 2
              ได้รับน�้ามันปลา 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกัน 12 สัปดาห์ โดยประเมินผลจากภาวะโภชนาการ แบบวัดคุณภาพ
              ชีวิตขององค์การอนามัยโลก เปรียบเทียบก่อนและหลังการรับประทานขมิ้นชันและน�้ามันปลาทั้งภายในกลุ่มและ
              ระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Wilcoxon-Mann-Whitney test  ผลกำรวิจัย พบว่ากลุ่มที่ 1 ส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็งตับ
              ร้อยละ 42.85 มะเร็งล�าไส้และทวารหนักร้อยละ 28.56 ได้รับการผ่าตัดร้อยละ 38.09 ดัชนีมวลกายเกณฑ์ปกติร้อยละ
              47.61 กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยมะเร็งล�าไส้และทวารหนักกับมะเร็งตับเท่ากันร้อยละ 33.33 ได้รับการผ่าตัดร้อยละ 71.42 ดัชนี
              มวลกายเกณฑ์ปกติร้อยละ 57.14 การเปรียบเทียบก่อนและหลังการได้รับสารสกัดขมิ้นชันกับน�้ามันปลาต่อภาวะ
              โภชนาการและคุณภาพชีวิตพบว่า ดีขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p < 0.05) เปรียบเทียบภายในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่
              รับประทานสารสกัดขมิ้นชันมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะโภชนาการ 8.00 และ 7.58 เปรียบเทียบภายในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง
              ที่รับประทานน�้ามันปลา มีค่าเฉลี่ย 7.64 และ 13.00 แตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญ p < 0.05; 95% CI 0.001- 0.133  การ
              เปรียบเทียบภายในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่รับประทานสารสกัดขมิ้นชันมีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิต 79.00 และ 93.00 แตกต่าง
              กันอย่างมีนัยส�าคัญ p < 0.05; 95% CI 0.001-0.133 กลุ่มรับประทานน�้ามันปลามีค่าเฉลี่ย 78.00 และ 94.00 แตกต่าง
              กันอย่างมีนัยส�าคัญ p < 0.05; 95% CI 0.00-0.130  และ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่รับประทานสารสกัด
              ขมิ้นชันกับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งรับประทานน�้ามันปลามีคะแนนเฉลี่ยโภชนาการต่างกัน 6.72 และ 7.85 และค่าเฉลี่ย
              คุณภาพชีวิต 79.43 และ 76.29 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญ สรุปผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะน�้าหนักตัวลดรับประทาน
              สารสกัดขมิ้นชันและรับประทานน�้ามันปลามีภาวะโภชนาการและคุณภาพชีวิตดีขึ้นไม่ต่างกัน ข้อเสนอแนะการรับ
              ประทานสารสกัดขมิ้นชันเป็นทางเลือกหนึ่งของการดูแลตนเองเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ
              น�้าหนักตัวลด
                   คำ�สำ�คัญ:  ผู้ป่วยมะเร็ง, ภาวะโภชนาการ, คุณภาพชีวิต


           Received date 30/01/20; Revised date 28/07/20; Accepted date 27/08/20


                                                   394
   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177