Page 67 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
P. 67
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562 Vol. 17 No. 2 May-August 2019
นิพนธ์ต้นฉบับ
ผลทันทีของการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนที่แตกต่างกันต่อจุดกดเจ็บชนิด
แฝงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่า: การทดลองทางคลินิกโดยมีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบปกปิดทางเดียว
ประภัสสร เส้งสุ้น , จินดารัตน์ เขียววงศ์, มัลลิกา หลีสวัสดิ์, วทันยา พงศธรกุล, สุดธิดา ประทีป
*
สาขาวิชากายภาพบำาบัด สำานักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 80160
* ผู้รับผิดชอบบทความ: praphatson.kl@wu.ac.th
บทคัดย่อ
การศึกษาเบื้องต้นเพื่อเปรียบเทียบผลทันทีของการรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนแบบร้อนชื้น แผ่นประคบร้อน
สมุนไพร และแผ่นประคบร้อนไฟฟ้าต่อจุดกดเจ็บชนิดแฝงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่า โดยผู้เข้าร่วมวิจัยเป็น
นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพศหญิง จำานวน 18 คน ถูกประเมินอาการปวดกล้ามเนื้อบ่าข้างขวาและระดับ
กิจกรรมทางกาย ค่าระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยแรงกด ระดับความรู้สึกความเจ็บปวดด้วยสายตา และความยืดหยุ่น
ของกล้ามเนื้อบ่าข้างขวาถูกบันทึกก่อนและหลังได้รับการวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ชนิด เป็นระยะเวลา 20 นาที พบ
ว่าหลังการวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ประเภท ระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยแรงกด ระดับความรู้สึกความเจ็บปวดด้วย
สายตา และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่าข้างขวา ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p > 0.05) และมี
ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติของระดับความรู้สึกกดเจ็บด้วยแรงกด ระดับความรู้สึกความเจ็บปวดด้วย
สายตา และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อบ่าข้างขวาก่อนและหลังได้รับการวางแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ชนิด (p < 0.05)
การรักษาด้วยแผ่นประคบร้อนทั้ง 3 ชนิด สามารถลดความเจ็บปวดของจุดกดเจ็บชนิดแฝงและเพิ่มความยืดหยุ่นของ
กล้ามเนื้อบ่าได้ผลใกล้เคียงกัน แต่ผู้ใช้แผ่นประคบร้อนสมุนไพรจะได้รับความรู้สึกผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวด
ได้ดีกว่าชนิดอื่น
คำ�สำ�คัญ : แผ่นประคบร้อนแบบร้อนชื้น, แผ่นประคบร้อนสมุนไพร, แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า, จุดกดเจ็บ
ชนิดแฝง, กล้ามเนื้อบ่า
Received date 21/11/18; Revised date 11/04/19; Accepted date 10/06/19
205