Page 179 - วารสารกรมการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2
P. 179
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2562
Vol. 17 No. 2 May-August 2019
J Thai Trad Alt Med Vol. 17 No. 2 May-Aug 2019 317
บทปริทัศน์
การสืบค้นจุดฝังเข็มที่ใช้บ่อยในการรักษากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สินีนาถ สาตร์เวช , ลฎาภา คิมอิ๋ง, ภัคจิรา ขัติยะ, ชลิตตาภรณ์ ดวงติ๊บ
*
คณะแพทย์ตะวันออก วิทยาลัยเชียงราย เลขที่ 199 หมู่ 6 ตำาบลป่าอ้อดอนชัย อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000
*ผู้รับผิดชอบบทความ: aomily@live.com
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาหลักเกณฑ์การเลือกจุดฝังเข็มที่ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกจาก
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยใช้วิธีการสืบค้นข้อมูลการวิจัยทางคลินิกของการรักษาภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือดด้วยการฝังเข็ม จากระบบ Online database ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และใช้โปรแกรม Microsoft
Excel ในการจัดการข้อมูล และแปลผลทางด้านสถิติทั้งหมด ซึ่งผลการวิจัยในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือดนั้น มีจุดฝังเข็มที่ใช้บ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จุด 内关 (PC6) , 心俞 (BL15) และ 膻中 (CV16)
ส่วนเส้นลมปราณที่ใช้บ่อย 3 อันดับแรก ได้แก่ เส้นมือจเหวียอินเยื่อหุ้มหัวใจ เส้นเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะ และ
เส้นลมปราณเริ่น จากผลการวิจัยพบว่าการเลือกจุดฝังเข็มที่ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดนั้น
ใช้หลักเกณฑ์การเลือกจุดตามเส้นลมปราณ โดยมีเส้นมือจเหวียอินเยื่อหุ้มหัวใจเป็นหลัก และจุดที่ใช้บ่อยที่สุดคือจุด
内关 (PC6)
คำ�สำ�คัญ : ฝังเข็ม, อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, จุดฝังเข็ม
Received date 14/11/18; Revised date 11/02/19; Accepted date 10/06/19
317