Page 51 - journal-14-proceeding
P. 51

บทคัดยอประกวดผลงานวิชาการประจําปการแพทยแผนไทย การแพทยพื้นบาน และการแพทยทางเลือกแหงชาติ ครั้งที่ 14


                                        OPem34C การพัฒนาและประเมินผลการใชงานฉลากยาสมุนไพรพูดได




               ดวงแกว อังกูรสิทธิ์
               กลุมงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสมุทรสาคร

               หลักการและเหตุผล ในปจจุบันสมุนไพรไทยไดรับการพัฒนาใหเปนยาแผนปจจุบัน โดยผูปวยที่ใชยาสมุนไพร
               จําเปนตองเขาใจวิธีการใชยาอยางถูกตอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดอาการขางเคียงที่เกิดจาก
               การใชยาสมุนไพร ดังนั้นฉลากยาสมุนไพรจึงมีความสําคัญ แตพบความเสี่ยงในการอานฉลากยาคลาดเคลื่อน
               จึงเปนที่มาของการพัฒนาฉลากยาสมุนไพรพูดได ดวยการประยุกตใช QR code


               วัตถุประสงค เพื่อการพัฒนาและประเมินผลการใชงานฉลากยาสมุนไพรพูดได

               วิธีการดําเนินการ งานวิจัยนี้ เปนการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยเริ่มตนรวบรวมขอมูลการใชยาสมุนไพร และ

               สรางฉลากยาสมุนไพรพูดได โดยผูวิจัยเลือกใชโปรแกรมสราง QR code สําหรับพัฒนาฉลากยาสมุนไพรที่ใช
               บอย จํานวน 6 รายการ ไดแก ขมิ้นชัน ฟาทะลายโจร เถาวัลยเปรียง เพชรสังฆาต ยาปราบชมพูทวีป และยา
               ตรีผลา และประเมินผลโดยใชแบบสอบถามกับผูใชสมุนไพรในโรงพยาบาลสมุทรสาคร จํานวน  32 คน  เก็บ
               ขอมูลระหวางวันที่ 16 – 30 มิถุนายน 2560 การวิจัยนี้ไดผานการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการวิจัย

               โรงพยาบาลสมุทรสาครประจําป 2560

               ผลการศึกษา พบวาผูทดลองใชสวนใหญเปนเพศหญิง (90.62%) มีอายุเฉลี่ย 43.25 ป ทุกคนมีประสบการณ
               ในการใชยาสมุนไพร และมีโทรศัพทมือถือที่สามารถ scan QR code ได ผลแบงออกเปน 3 สวน ดังนี้ สวนที่

               1  กลุมทดลองทุกคนสามารถเขาใจขอมูลการใชยาไดถูกตอง (100%) ในทั้งสามสวนคือ สรรพคุณ วิธีใชยา
               และคําแนะนําการใชยาสมุนไพร  สวนที่ 2 กลุมทดลองมีความพึงพอใจตอการใชงานฉลากยาสมุนไพรพูดไดใน
               ภาพรวมอยูในระดับมากที่สุด  ในเรื่องความสะดวกในการใชงาน ระดับเสียงพูด และเนื้อหามีความครบถวน
               โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยูที่ 4.17 เต็ม 5  และสวนที่ 3 กลุมทดลองทําการเปรียบเทียบ

               ความพึงพอใจฉลากยาพูดไดในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม พบวามีความพึงพอใจตอฉลากยาสมุนไพรพูดได
               มากกวาอยางมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.01)

               ขอสรุป งานวิจัยนี้จึงเปนการพัฒนานวัตกรรมทางเลือกในการใหขอมูลยาสมุนไพรโดยการใชเทคโนโลยี เพื่อ

               เปนทางเลือกในการใหขอมูลการใชสมุนไพรที่ถูกตอง ทันสมัย และสอดคลองกับนโยบาย Thailand 4.0












                                                         49
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56