Page 165 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 21 ฉบับที่ 2
P. 165

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 21  ฉบับที่ 2  พฤษภาคม-สิงหาคม  2566      Vol. 21  No. 2  May-August  2023




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดอกดาหลา



            สายัณห์ เรืองเขตร , ธนวัฒน์ ทองจีน, อัศวชัย ช่วยพรหม, ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง
                           *
            สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถนนติวานนท์ ตำาบลตลาดขวัญ อำาเภอเมือง นนทบุรี 11000
            * ผู้รับผิดชอบบทความ:  ruengkhetsayan@gmail.com








                                                 บทคัดย่อ
                    บทน�ำและวัตถุประสงค์:  ดาหลามีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith วงศ์ Zingiberaceae
               มีรายงานว่าดาหลามีสรรพคุณทางยา ช่วยแก้โรคลมพิษ โรคผิวหนัง และต้านอนุมูลอิสระ สมุนไพรนี้ยังไม่มีข้อก�าหนด
               มาตรฐานในต�ารามาตรฐานยาสมุนไพรไทย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการควบคุมคุณภาพ ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ
               ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของดอกดาหลา
                    วิธีกำรศึกษำ:  รวบรวมตัวอย่างดอกดาหลา จ�านวน 12 ตัวอย่าง จากแหล่งธรรมชาติของประเทศไทยน�ามา
               ศึกษาโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างจริง 1 ตัวอย่างที่ได้รับมาจากห้องปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์พืช  น�าตัวอย่างดอกดาหลา
               มาตรวจสอบเบื้องต้นทางเคมีด้วยปฏิกิริยาการเกิดสี พิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีโครมาโทกราฟีผิวบาง และศึกษา
               คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
                    ผลกำรศึกษำ:  ผลการตรวจสอบเบื้องต้นทางเคมีด้วยปฏิกิริยาการเกิดสี พบว่าให้ผลบวกกับสารกลุ่ม
               ฟลาโวนอยด์ ฟีนอลิกและกรดอะมิโน เมื่อพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมีด้วยวิธีโครมาโทกราฟีผิวบาง พบว่าให้ผลบวกกับ
               สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ และตรวจพบกรดคลอโรจีนิค จ�านวน 11 ตัวอย่าง การศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี
               ของดอกดาหลา ได้แก่ ปริมาณความชื้นด้วยวิธีกราวิเมทริก ปริมาณเถ้ารวม ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ปริมาณ
               สิ่งสกัดด้วยน�้า และปริมาณสิ่งสกัดด้วยเอทานอล 95% พบว่ามีค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับร้อยละ
               9.05 ± 2.79, 9.34 ± 0.53, 0.20 ± 0.06, 19.87 ± 3.45 และ 13.24 ± 1.90 โดยน�้าหนัก ตามล�าดับ
                    อภิปรำยผล:  ตัวอย่างดอกดาหลาที่เก็บมาจากอ�าเภอเบตง จังหวัดยะลา มีโครมาโทแกรมต่างไปจากตัวอย่าง
               ดอกดาหลาทั้ง 11 ตัวอย่าง คือมีองค์ประกอบทางเคมี 1 ชนิด และตรวจไม่พบกรดคลอโรจีนิค ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ
               ความแตกต่างของสายพันธุ์ อายุต้นสมุนไพร ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว สภาพดิน แร่ธาตุ สภาพภูมิประเทศหรือภูมิ
               อากาศ
                    ข้อสรุป:  ผลการศึกษานี้น�าไปสู่การจัดท�ามอโนกราฟดอกดาหลา และสามารถใช้เป็นแนวทางในการก�าหนด
               มาตรฐานของดอกดาหลาในต�ารามาตรฐานยาสมุนไพร เพื่อเป็นมาตรฐานอ้างอิงของประเทศต่อไป

                    ค�ำส�ำคัญ:  ดอกดาหลา, คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี, ข้อก�าหนดมาตรฐาน





            Received date 07/11/22; Revised date 18/07/23; Accepted date 04/08/23


                                                    381
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170