Page 141 - วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564
P. 141

J Thai Trad Alt Med                                   Vol. 19  No. 2  May-Aug  2021  371





               ประสิทธิภาพของโปรแกรมการเลิกบุหรี่ที่มีการบูรณาการร่วมกันของการแพทย์

               แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง :
               การศึกษาเชิงทดลอง

               วิษณุ อนิลบล , จตุพร ไตรภัทรกิจโกศล, คุ้มวงศ์ องอาจ
                         *
               โรงพยาบาลปากน�้าหลังสวน ต�าบลปากน�้า อ�าเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86150
               * ผู้รับผิดชอบบทความ: uiseiwporh@gmail.com


                                                 บทคัดย่อ
                    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเลิกบุหรี่ของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลปากน�้า
               หลังสวน ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่โดยประยุกต์จากแนวคิดของแบบจ�าลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง
               พฤติกรรมต่อการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สูบบุหรี่โดยการบูรณาการร่วมกันของการแพทย์แผนปัจจุบัน
               กับการแพทย์แผนไทย โดยการแนะน�าการดูแลตัวเองด้วยหลักธรรมานามัย การนวดกดจุดสะท้อนเท้า การใช้สมุนไพร
               เพื่อช่วยเลิกบุหรี่ คือ ยาอมมะแว้ง ชาชงหญ้าดอกขาว รางจืดแบบแคปซูล เทียบกับในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
               ที่ไม่ได้รับโปรแกรมประยุกต์หรือได้รับการรักษาแบบเดิม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจาก
               กลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลปากน�้าหลังสวน จ�านวน 88 คน โดยวิธีจับฉลากรายชื่อแบบไม่ใส่คืน ได้
               กลุ่มตัวอย่าง ในกลุ่มทดลองจ�านวน 44 คน และกลุ่มควบคุมจ�านวน 44 คน ผ่านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์จากคณะ
               กรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและ
               โปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่โดยประยุกต์จากแนวคิดของแบบจ�าลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อการ
               เลิกบุหรี่โดยการบูรณาการร่วมกันของการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง
               ที่สูบบุหรี่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุอยู่ในช่วง 60-69 ปี มากที่สุด ส่วนใหญ่มีโรคประจ�าตัวเป็น ความดันโลหิตสูง
               ไขมันในโลหิตสูง และเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความพร้อมในการเลิกบุหรี่อยู่ในระยะชั่งใจ ร้อยละ
               75.30 ผลการเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังเข้าร่วมการวิจัยครบ 6 เดือน มีผู้เลิกบุหรี่ได้ทั้งหมด
               ร้อยละ 44.16 โดยกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 46.30 และกลุ่มควบคุมเลิกบุหรี่ได้ร้อยละ 41.70  ผลของการเลิกสูบ
               บุหรี่ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ มีผู้ป่วยที่สามารถเลิกบุหรี่ได้ทั้งหมด
               ร้อยละ 44.16 ดังนั้น การประยุกต์โปรแกรมการเลิกบุหรี่โดยประยุกต์จากแนวคิดของแบบจ�าลองขั้นตอนการ
               เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อการเลิกบุหรี่ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สูบบุหรี่โดยการบูรณาการร่วมกันของการแพทย์
               แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย สามารถท�าให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ได้

                    คำาสำาคัญ:  การเลิกสูบบุหรี่, บุหรี่, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง










                 Introduction and Objective             threats; accounting for deaths at more than

                 In 2017, the World Health Organization   seven million people every year. Among these,
            cited smoking as one of the major health    more than six million people are smokers and
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146