Page 179 - วารสารการแพทย์แผนไทยฯ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1
P. 179

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 19  ฉบับที่ 1  มกราคม-เมษายน 2564        Vol. 19  No. 1  January-April 2021




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาองค์ความรู้ด้านการนวดแบบราชสำานักในการรักษาโรค

            ออฟฟิศซินโดรม: กรณีศึกษา อาจารย์มนัส รัตชะถาวร



            อำ�พล บุญเพียร , ปฐม� จันทรพล , นัทธพร สร้อยทอง , ศุภกร ภู่สอ�ด    ‡
                                                                †
                                             *
                           *,§
            * ภาควิชาการแพทย์แผนไทย วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จังหวัดนนทบุรี  11150
             โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลบ้านทับกฤช จังหวัดนครสวรรค์ 60250
            †
            ‡ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำาบลบ้านกระดานหน้าแกล จังหวัดนครสวรรค์ 60110
            § ผู้รับผิดชอบบทความ:  aumpol@kmpht.ac.th









                                                 บทคัดย่อ
                    งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการนวดแบบราชสำานักในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม ของ อาจารย์
               มนัส รัตชะถาวร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และผลของของการรักษา โดยรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือน
               มิถุนายน-สิงหาคม 2562 คำาถามวิจัยที่สำาคัญ คือ การนวดแบบราชสำานักในการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมของอาจารย์
               มนัส รัตชะถาวรเป็นอย่างไร โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ใช้วิธีการสัมภาษณ์ และสังเกต
               ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ผลดังต่อไปนี้  1. อาจารย์มนัส รัตชะถาวร ศึกษาหัตถเวชกรรมจากอาจารย์ณรงค์สักข์
               บุญรัตนหิรัญ และรักษาโรคด้วยการนวดมากกว่า 50 ปี มีผู้มารับการรักษาด้วยโรคออฟฟิศซินโดรม 30 คนต่อเดือน
               2. อาจารย์มนัส รัตชะถาวรมีวิธีการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมโดยการนวดแบบราชสำานักที่มีการประยุกต์ให้เหมาะ
               สมกับโรคออฟฟิศซินโดรม ใช้ระยะเวลาการรักษา 1-2 ชั่วโมงต่อราย มีขั้นตอนในการรักษาคือ การตรวจวินิจฉัย การ
               รักษา และการประเมินผลการรักษา  3. หลังจากการรักษาพบว่า ผู้ที่มารับบริการสามารถทำางานได้นานขึ้น เคลื่อนไหว
               ได้ดีขึ้น อาการปวดลดลง และต้องการกลับเข้ามารับการรักษาอีก รวมถึงจะทำาการแนะนำาให้ผู้อื่นมารักษาด้วย  ผลจาก
               การศึกษาการวิจัยครั้งนี้สามารถนำาไปเป็นข้อมูลสำาหรับผู้ที่สนใจนำาองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ที่เป็นโรค
               ออฟฟิศซินโดรม รวมถึงการนำาไปเผยแพร่องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพให้แก่คนในชุมชนและช่วยอนุรักษ์ สืบทอด
               หรือแหล่งเก็บความรู้ให้คงอยู่และสืบทอดสู่ชนรุ่นหลังต่อไป
                    คำ�สำ�คัญ:  องค์ความรู้, การนวด, โรคออฟฟิศซินโดรม, อาจารย์มนัส รัตชะถาวร












            Received date 22/06/20; Revised date 26/12/20; Accepted date 23/03/21


                                                    161
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184