Page 49 - ภาพนิ่ง 1
P. 49
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2555 Vol. 10 No. 1 January-April 2012
นิพนธ์ต้นฉบับ
คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งเสริมสุขภาพ
ด้วยแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย
ประภา พิทักษา*
ปัณสุข สาลิตุล*
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพ
ชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการส่งต่อสู่ชุมชน จำนวน 676 คน และศึกษาผลของคุณภาพชีวิตหลังได้รับการส่งเสริมสุข
ภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย รูปแบบการศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 385 คน กลุ่มควบคุม 291 คน โดย
กลุ่มทดลองจะได้รับการสอนโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย 2 ครั้ง ห่างกัน 2
เดือน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามทั่วไป และ แบบวัดคุณภาพชีวิตชุดย่อของ
องค์การอนามัยโลก WHO QOL-BREF (WHO,2004) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ, Paired-Samples T-test และ
Independent–Samples T-test
ผลการศึกษาพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่ถูกส่งต่อสู่ชุมชนมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง
ก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และพบว่าภายหลังได้รับการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์
แผนไทย กลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ คุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมและด้านสิ่ง
แวดล้อม ดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
การศึกษาครั้งนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย
เป็นเครื่องมือที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างชัดเจนเนื่องจากคุณภาพชีวิตที่วัดได้อยู่ในระดับ
ปานกลางทั้งก่อนและหลังทดลอง แต่มีความเหมาะสมต่อการดูแลด้านจิตใจและการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม สามารถ
เป็นทางเลือกหนึ่งในกระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน
คำสำคัญ : ผู้ป่วยเบาหวาน, คุณภาพชีวิต, การแพทย์แผนไทยชุดหลักธรรมานามัย
ภูมิหลังและเหตุผล (ปัณสุข สาลิตุล, 2552) แต่ยังไม่มีการศึกษา
การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบัน อย่างเป็นระบบว่าคำแนะนำดังกล่าวมีผลอย่างไร
เป็นการรักษาโดยการใช้ยาเป็นส่วนใหญ่ โรง หากนำมาใช้ในกระบวนการส่งเสริมสุขภาพรวม
พยาบาลกันทรลักษ์มีการส่งเสริมสุขภาพโดยการ ถึงศาสตร์การแพทย์แผนไทยด้านอื่นๆ ดังนั้นผู้
ให้คำแนะนำเรื่องอาหาร การออกกำลังกายโดย วิจัยจึงได้ทดลองนำองค์ความรู้ด้านการแพทย์
ทั่วไป และกายบริหารท่าฤๅษีดัดตนพื้นฐาน 15 แผนไทยมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบา
ท่า ซึ่งพบว่ามีความเหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน หวานในเขตอำเภอกันทรลักษ์ที่ควบคุมระดับ
*โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
43