Page 166 - Acrobat J Trad-21-3-2566
P. 166
วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2566 Vol. 21 No. 3 September-December 2023
นิพนธ์ต้นฉบับ
ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหอมแดง อำาเภอ
ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ณิชารีย์ ใจคำาวัง , ธนัญชัย จวบประสพ , ณัฐกฤตา บุณณประกอบ ‡
*,§
†
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตำาบลท่าอิฐ อำาเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
*
โรงพยาบาลค่ายพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำาบลท่าเสา อำาเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
†
สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตำาบลท่าอิฐ อำาเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
‡
ผู้รับผิดชอบบทความ: jkwnicharee@uru.ac.th
§
บทคัดย่อ
บทน�ำและวัตถุประสงค์: หอมแดง (Allium ascalonicum L.) เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็น
สมุนไพรที่มีสารส�าคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย การวิจัยเชิงทดลองนี้ มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดหอมแดง อ�าเภอลับแล จังหวัด
อุตรดิตถ์
วิธีกำรศึกษำ: เก็บตัวอย่างหอมแดงจากอ�าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และ
คุณภาพของหอมแดง น�าหอมแดงมาสกัดด้วยตัวท�าละลาย น�้า เอทานอล และเมทานอล น�าสารสกัดหยาบที่ได้ไป
วิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและปริมาณสารเควอซิทิน ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้ง
แบคทีเรีย
ผลกำรศึกษำ: การสกัดสารด้วยตัวท�าละลาย น�้า เอทานอล และเมทานอล ได้ผลผลิตร้อยละเท่ากับ 9.07, 8.86
และ 11.53 ตามล�าดับ ผลการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิก เท่ากับ 33.67, 41.29 และ 13.67 mg/mL ตามล�าดับ
ผลการวิเคราะห์ปริมาณสารเควอซิทิน เท่ากับ 0.10 ± 0.01, 0.08 ± 0.01 และ 0.14 ± 0.01 %W/W ของน�้าหนักแห้ง
ตามล�าดับ ผลการทดสอบร้อยละการยับยั้งสารอนุมูลอิสระ เท่ากับ 64.09, 41.53 และ 60.89 ตามล�าดับ ผลการทดสอบ
ความเข้มข้นต�่าสุดที่สามารถยับยั้ง (MIC) และท�าลาย (MBC) ของสารสกัดหอมแดงที่สกัดด้วยตัวท�าละลายน�้า ต่อ
เชื้อ Staphylococcus aureus DMST 8013 เท่ากับ 10 และ 10 mg/ml เชื้อ Staphylococcus epidermidis DMST 15505
เท่ากับ 2.5 และ 2.5 mg/ml และ เชื้อ Bacillus cereus DMST 5040 เท่ากับ 5 และ 5 mg/ml ตามล�าดับ
อภิปรำยผล: สารสกัดหอมแดงที่สกัดด้วยตัวท�าละลายน�้า มีฤทธิ์ในการยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกที่พบบริเวณ
ผิวหนังของมนุษย์ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสารประกอบอื่น ๆ นอกจากสารประกอบ
ฟีนอลิกและกลุ่มฟลาโวนอยด์ แม้จะมีปริมาณน้อย แต่อาจจะสามารถช่วยเสริมฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระได้
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ: สารสกัดหอมแดงมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ และมีความสามารถในการยับยั้ง
เชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ S. aureus, S. epidermidis และ B. cereus สามารถน�าข้อมูลนี้ไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
สมุนไพรเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหอมแดงของจังหวัดอุตรดิตถ์
ค�ำส�ำคัญ: สารสกัดหอมแดง, สารประกอบฟีนอลิก, เควอซิทิน, ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย
Received date 26/05/23; Revised date 04/12/23; Accepted date 19/12/23
649