Page 137 - วารสารการแพทย์แผนไทย ปีที่ 20 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2565
P. 137

วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ทางเลือก  Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine
                      ปีที่ 20  ฉบับที่ 3  กันยายน-ธันวาคม  2565   Vol. 20  No. 3  September-December  2022




                                                                                 นิพนธ์ต้นฉบับ



            การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทยในการรักษาโรคเลือดโรคลม:

            กรณีศึกษาหมอลินทร์ สิทธิพล อำาเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา



            สุพรรณิกา สมคุณ , บดินทร์ ชาตะเวที *,†,§ , วัตถาภรณ์ สมนึก , ชญากาณฑ์ ปาโต , ณัฐณิชา สุยะ ‡
                           *,†
                                                                                ‡
                                                                ‡
             โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำาบลคอหงส์ อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
            *
            †  ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเวชศาสตร์แผนไทย คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำาบลคอหงส์ อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
             90110
            ‡  หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำาบลคอหงส์ อำาเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
            § ผู้รับผิดชอบบทความ:  bodin.c@psu.ac.th





                                                 บทคัดย่อ

                    หมอพื้นบ้านนับเป็นผู้สืบทอดกระบวนการรักษาที่มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและ
               วัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการรักษาโรคเลือดโรคลม
               ของหมอลินทร์ สิทธิพล หมอพื้นบ้านอ�าเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ท�าการรวบรวมข้อมูลภูมิหลังการเป็นหมอ
               พื้นบ้าน หลักการและแนวทางการรักษา รวมทั้งต�ารับยาที่ใช้รักษา โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (semi-struc-
               tured interview) ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) จากการศึกษาพบว่า หมอลินทร์ สิทธิพล
               สืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ แนวคิดเกี่ยวกับโรคเลือดโรคลมเกิดจากภาวะไม่สมดุลของธาตุทั้ง 4 ในร่างกาย
               กระบวนการรักษาเริ่มจากการซักประวัติ การสังเกตลักษณะภายนอก และมีการตรวจความเย็นบริเวณปลายนิ้ว เพื่อ
               ประเมินอาการไข้ จากนั้นท�าการจ่ายยาสมุนไพรร่วมกับบริกรรมคาถา “อาการ 32” รวบรวมต�ารับยาได้ 19 ต�ารับ
               จ�าแนกตาม 16 โรค/อาการ [โรคเลือด (ประจ�าเดือนผิดปกติ) โลหิตจาง ไข้ทับระดู ไข้หน้าไฟ โรคลม (วัยทอง) ไข้เพื่อ
               เลือดเพื่อลม ตกขาว ไข้ตานซาง ไข้ดีซ่าน ท้องผูก ท้องอืด ผื่นเม็ด ไฟลามทุ่ง ฟกช�้า หอบหืด และอาการอ่อนล้า] โดย
               การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ของหมอพื้นบ้านที่มีการสืบทอดผ่านกระบวนการลองผิดลองถูกจนกลายเป็น
               ภูมิปัญญาการรักษาโรคที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์


                    ค�ำส�ำคัญ:  ภูมิปัญญา, หมอพื้นบ้านไทย, โรคเลือดโรคลม, สมุนไพร














            Received date 13/05/22; Revised date 15/08/22; Accepted date 29/11/22


                                                    551
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142